Page 143 - b29420_Fulltext
P. 143
จะมีแนวโน้มที่ผู้สมัครจะจ่ายเงินเพื่อแลกกับคะแนนเสียงน้อยลง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้สมัครจะไม่มีการใช้
เงินเพื่อหาคะแนนเสียงในช่วงก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง
นอกจากเรื่องทรัพย์สินและค่าตอบแทนแล้ว ญาติ คืออีกปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือก
ผู้นำ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าญาติมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเป็นอันดับแรกๆเหนือกว่าทรัพย์สินเงินทอง ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งยอมรับว่าเมื่อมีการเลือกตั้งพวกเขาจะมองว่าใครอยู่ฝ่ายใดและญาติของพวกเขาลงหรือไม่ หากไม่ลงก็มี
บางครั้งที่สนับสนุนให้ญาติของตนลงสมัคร ด้านผู้สมัครก็มองว่าญาติเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจลง
สมัครรับเลือกตั้ง หากปราศจากญาติหรือมีจำนวนญาติน้อยพวกเขาก็ตัดสินใจไม่ลงสมัคร แท้จริงแล้วการเลือกตั้ง
ระดับท้องถิ่นที่ผู้คนมีความใกล้ชิดผูกพันกันและส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน จึงไม่แปลกที่ญาติจะกลายมาเป็นปัจจัย
แรกๆที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะนำมาใช้พิจารณาในการเลือกผู้นำ เนื่องจากการมีญาติเป็นผู้นำนั้นถูกมองว่าจะทำให้การ
ขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆเป็นไปได้ง่ายขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นการตัดสินใจเลือกผู้นำหรือผู้แทนโดยอิงอยู่กับความ
เป็นญาติพี่น้องก็ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย และเสี่ยงที่จะนำไปสู่ธนกิจการเมืองเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งแบบเดิม
เนื่องจากอาจเกิดกรณีที่ผู้สมัครเลือกที่จะระดมญาติมิตรกลับมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาลงคะแนนเสียง ทำให้เกิด
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไม่เพียงเท่านั้นยังจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูต่างๆ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว
ก็ยังส่งผลให้เกิดเงื่อนไขที่ขัดขวางต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง เป็นการตัดโอกาสการ
พิจารณาผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และที่สำคัญยังนำไปสู่ความขัดแย้งกันระหว่างคนในชุมชนอีกด้วย
ในส่วนของความตระหนักในศักยภาพ การตระหนักถึงคุณค่าคะแนนเสียงของตน การติดตามนโยบายและ
การตระหนักในความสามารถในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัจจัยเหล่านี้สามารถนี้เป็นได้
ทั้งเหตุและผลของสำเร็จในการดำเนินโครงการ กล่าวคือในแง่หนึ่งการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
สิทธิสามารถส่งเสริมความตระหนักในศักยภาพของตนของผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้และทำให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการเห็น
ถึงคุณค่าในคะแนนเสียงของตนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น โดยความตระหนักที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ
ดำเนินโครงการนอกจากจะเป็นผลลัพธ์ที่สืบเนื่องจากการดำเนินโครงการแล้ว อีกแง่หนึ่งมันก็กลายเป็นส่วนหนึ่ง
ของแรงกระตุ้นที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อการเลือกตั้งในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้น ซึ่งมีส่วนต่อการตัดสินใจที่อิงอยู่กับ
เหตุผลด้านนโยบายและความสามารถของผู้สมัครมากขึ้น นอกไปจากเหตุผลในเรื่องของญาติและทรัพย์สิน
ค่าตอบแทนในการเลือกตั้ง ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นจากผลกการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จระดับ
มาก กลุ่มตัวอย่างจะมีความตระหนักในศักยภาพของตนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมากกว่าและ
มองว่าทรัพย์สินค่าตอบแทนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจน้อยหรือแทบไม่มีผลเลยต่างจากพื้นที่ที่ประสบควาสำเร็จ
ระดับปานกลางถึงน้อย
129