Page 144 - b29420_Fulltext
P. 144
อย่างไรก็ตาม ความตระหนักถึงศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้มี
สิทธิเลือกตั้งจะเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งเพื่อส่งเสริมให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมและ
ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง ดังนั้น หากต้องการให้โครงการประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของการสร้างความ
เปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายของโครงการ และในแง่ของการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงกับการพัฒนาประชาธิปไตย และบทบาท
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพในการเลือกตั้งได้อย่างแท้จริง ตัวแสดงที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
แกนนำจำเป็นต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการเดินงานใหม่ ต้องสร้างความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงกับการพัฒนาประชาธิปไตยและคุณภาพชีวิตของผู้คนที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคน
สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ต้องส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรมเน้นความดี ไม่แจก
ทรัพย์สินค่าตอบแทนเพื่อสร้างให้การเลือกตั้งมีความหมายและเปิดพื้นที่ให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เข้าไปมีส่วนร่วม
พร้อมทั้งต้องเปิดพื้นที่สร้างกิจกรรมรณรงค์เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างมีส่วนร่วมตั้งแต่
กระบวนการเริ่มแรก เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมคิดร่วมทำร่วมรับผิดและชอบด้วยตนเอง อันจะส่งผลต่อการ
สร้างความตระหนักปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้และนำไปสู่ความสำเร็จ
ในระยะยาว
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเสนอ “ตัวแบบ 5 สร้างสู่การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง” เพื่อเป็น
กรอบคิดและแนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสำหรับการเลือกตั้งในระดับท้องที่
ขึ้น โดยอุดช่องว่างและเสริมบางกระบวนการทำงานที่ผ่านมาให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อเป้าหมายในการ
ส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพได้มากขึ้น โดยตัวแบบ 5
สร้างสู่การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3. ตัวแบบ 5 สร้างสู่การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
จากผลการศึกษาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงให้ประสบ
ความสำเร็จนั้นจำเป็นต้องเพิ่มเติมองค์ความรู้ ปรับกระบวนการ ปรับทัศนคติ สร้างพฤติกรรม และปรับเปลี่ยน
ความเชื่อวัฒนธรรมอีกหลายประการให้มีความสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ‘แกน
นำและผู้เกี่ยวข้อง’ (actors) คือกลไกสำคัญเป็นจุดตั้งต้นของการจัดวางปัจจัยแห่งความสำเร็จดังกล่าว เพื่อ
ขับเคลื่อนและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นแก่พื้นที่ที่ดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
เสียง ดังนั้น เพื่อพัฒนาให้กรอบคิดเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงมีประสิทธิภาพมากกว่าที่
ผ่านมา งานวิจัยชิ้นนี้จึงเสนอกรอบการพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
ภายใต้ แนวคิด 5 สร้างสู่การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง (5 building for free and fair
130