Page 149 - b29420_Fulltext
P. 149
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้มีข้อสังเกตต่อการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
ใน 6 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 เริ่มต้นจากศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ในฐานะที่ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเป็น
เครือข่ายในระดับพื้นที่ของสถาบันพระปกเกล้า ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะภาคประชาสังคมในระดับพื้นที่
ขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตั้งแต่ระดับชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด การขับเคลื่อน
เพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอาจเคลื่อนโดยศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ของ
สถาบันพระปกเกล้าได้ ซึ่งในขณะนี้มีอยู่ 56 จังหวัดทั่วประเทศ โดยทางศูนย์ฯ สามารถประสานขอรับคำแนะนำ
หรือขอรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจากสถาบันพระปกเกล้า
เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อไปได้ โดยอาจจัดให้เป็นหนึ่งในโครงการเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนประจำปี
รูปแบบที่ 2 เริ่มต้นจากโรงเรียนพลเมือง ซึ่งเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริม
การเมืองภาคพลเมือง ได้จัดให้มีขึ้นตั้งแต่ปี 2555 เพื่อส่งเสริมให้คนในพื้นที่ได้เรียนรู้หลักการประชาธิปไตย
ความสำคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และบทบาทการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ในฐานะพละกำลังของประเทศชาติ โดยนักเรียนพลเมืองจะได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาโครงการเพื่อพัฒนาแก้ไข
ปัญหาในชุมชนเป็นโครงงานเพื่อสอบจบการศึกษาอย่างน้อย 1 เรื่อง ดังนั้น การผลักดันให้นักเรียนพลเมืองเห็น
ความสำคัญของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงและเลือกดำเนินโครงการกิจกรรมดังกล่าวในฐานะ
โครงการสำเร็จการศึกษาก็อาจเป็นอีกหนทางหนึ่งในการเริ่มต้นขับเคลื่อนโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
สิทธิขายเสียงด้วยตัวแบบ ‘5 สร้างฯ’
รูปแบบที่ 3 เริ่มต้นจากประชาชน ซึ่งเป็นรูปแบบที่งานวิจัยชิ้นนี้คาดหวังอยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด เพื่อ
สร้างสภาพแวดล้อมกระแสความสนใจโอบล้อมนโยบายการเลือกตั้งให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนผู้
มีสิทธิเลือกตั้งอย่างแท้จริง โดยประชาชนในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นแกนนำที่ได้รับการอบรมจากสถาบันพระปกเกล้า
เสมอไป แต่อาจเป็นกลุ่มผู้สนใจผลักดันให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นผู้นำชุมชนที่เล็งเห็นถึง
ความสำคัญในการสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมีความสมานฉันท์และได้ผู้นำที่มีคุณภาพ สามารถตอบสนองความ
ต้องการของประชาชนได้ หรือ เริ่มต้นจากกลุ่มประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้การ
เลือกตั้งอยู่ในกติกาที่เป็นธรรมเรียกร้องคุณสมบัติที่พึงปรารถนาจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมไปถึงเสนอนโยบายที่พวก
ตนต้องการให้เป็นหนึ่งในตัวเลือกจัดทำนโยบายสาธารณะของผู้สมัครหรือผู้แทน โดยการรวมตัวกันของประชาชน
หรือผู้สนใจสามารถกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น เคลื่อนไหวในลักษณะกลุ่มในชุมชน กลุ่มอาชีพ หรือเป็นกลุ่ม
ออนไลน์ ก็ได้เช่นกัน โดยใช้การสร้างกระแสความสนใจให้เกิดขึ้น และนำเรื่องดังกล่าวไปพูดคุยในการประชุมต่างๆ
ของหมู่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ความสนใจที่เกิดขึ้นในชุมชนมีความเป็นธรรมชาติและกระแสจะเกิดขึ้นในวงกว้าง
รูปแบบที่ 4 เริ่มต้นจากสถาบันการศึกษา ซึ่งในที่นี้ไม่จำกัดระดับการศึกษา อาจเป็นระดับประถมศึกษา
มัธยมศึกษา เรื่อยไปจนถึงระดับอุดมศึกษาได้ โดยกิจกรรมอาจริเริ่มจากครูที่ปรึกษาเป็นผู้มอบหมายการบ้านหรือ
135