Page 150 - b29420_Fulltext
P. 150
โครงงานให้แก่นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติ หรืออาจริเริ่มจากตัวนักเรียนเป็นผู้ผลักดันหลักและมีครูผู้สอนเป็นครูที่ปรึกษา
และคอยสนับสนุน เป็นต้น
รูปแบบที่ 5 เริ่มต้นจากหน่วยงานภาครัฐที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งในระดับต่างๆ ไม่
จำเพาะต้องเป็นหน่วยงานภาครัฐที่จัดการเลือกตั้งระดับท้องที่อย่างอำเภอเท่านั้น แต่เทศบาล กรมการปกครอง
และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก็สามารถเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ
ขายเสียงได้ในหลายลักษณะ อาทิ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในส่วนของการสร้างความรู้ไปในการอบรมกำนัน
ผู้ใหญ่บ้านของกรมการปกครอง หรือในการอบรมผู้สมัครรับเลือกตั้งของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง การ
พิจารณาออกระเบียบปฏิบัติในการรณรงค์เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเพิ่มเติมจากการรณรงค์ให้ไป
ใช้สิทธิเลือกตั้ง การสนับสนุนการผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง การรวมมือกับ
สถาบันการศึกษาต่างๆผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนโครงการอย่างเป็นรูปธรรมในระดับชุมชน เป็นต้น
อนึ่ง ในการขับเคลื่อนทุกรูปแบบ สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะสถาบันวิชาการระดับชาติ ที่มุ่งส่งเสริม
ประชาธิปไตย สันติวิธีและธรรมาภิบาล โดยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนนั้น ยินดีที่จะสนับสนุนองค์
ความรู้ให้แก่ผู้นำ ผู้มีใจอาสา ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐที่สนใจ ในการสร้างความรู้
ความเข้าใจการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงตลอดจนตัวแบบ 5 สร้างสู่การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่
ซื้อสิทธิขายเสียง ผู้สนใจสามารถติดต่อสถาบันพระปกเกล้าเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ วิทยากร และ
สื่อต่างๆเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
4. ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาและข้อสังเกตข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอเพื่อให้การส่งเสริมการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง 3 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 ความรู้ความเข้าใจ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความรู้ความเข้าใจการเลือกตั้งสมานฉันท์และ
ไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ทั้งที่มาที่ไป ความสำคัญและความหมายของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
อย่างแท้จริงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ปัญหาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกนำเสนอเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญบางเรื่องเพื่อให้
สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และกลุ่มผู้ฟัง แต่ปัญหาอยู่ที่การขาดการเชื่อมโยงความสำคัญของโครงการกับการ
พัฒนาประชาธิปไตยและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกระบวนการเลือกตั้งอย่างแท้จริง ในแง่นี้
ผู้วิจัยมีข้อสังเกตต่อประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการในพื้นที่ 3 เรื่อง
เรื่องแรก การรู้ทฤษฎี (theory) เป็นสิ่งสำคัญ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พูดคุยกับแกนนำพลเมืองที่นำ
โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปดำเนินการในพื้นที่ เราพบกว่าแกนนำพลเมืองมีความรู้เรื่อง
นี้เป็นอย่างดี พวกเขาเข้าใจถึงความสำคัญของโครงการ ทว่าข้อมูลจากการสัมภาษณ์ยังไม่สะท้อนออกมานักว่า
136