Page 130 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 130

การประชุมวิชาการ   12
                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
                                                                                       ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                  ที่เชื่อมโยงกับมิติทางสังคมและกฎหมาย จนออกมาเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับ

                  จากบุคลากรด้านสุขภาพ นักกฎหมาย และสังคมทั่วไป ซึ่งได้แก่ ประกาศแพทยสภาว่าด้วย
                  เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตาย ซึ่งสามารถยุติปัญหาการวินิจฉัยสมองตายและการถกเถียงกัน
                  เรื่องจุดเริ่มต้นของการบริจาคอวัยวะ เมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นในกรณีนี้จึงควรพัฒนา
                  มาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคลากรในวิชาชีพด้านสุขภาพสาขาต่าง ๆ ในเรื่อง

                  การดูแลแบบประคับประคองผ่านสภาวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งแต่ละวิชาชีพก็มีกฎหมายที่เป็นฐาน
                  ในการออกประกาศกำหนดมาตรฐานการทำงานของแต่ละวิชาชีพ

                         โดยสรุป ในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพนี้ควรมีการเผยแพร่ความรู้
                  ความเข้าใจในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองแก่บุคลากรด้านสุขภาพ สร้างเส้นทางสายอาชีพ

                  พัฒนาหลักสูตรและสร้างแนวทางการปฏิบัติทางการแพทย์ในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง
                  เพื่อสร้างความยั่งยืนแก่การดำเนินงานด้านการดูแลแบบประคับประคองของประเทศ

                       5.3 ประเทศไทยมีปัญหากฎหมายและทัศนคติต่อการใช่ยากลุ่ม Opioids ของทั้ง

                  บุคลากรด้านสุขภาพและประชาชนจนเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงยาของผู้ป่วย การควบคุม
                  ความปวดเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลแบบประคับประคอง หากไม่สามารถควบคุมความปวด
                  ได้แล้วจะไม่สามารถเริ่มกระบวนการในการดูแลในมิติอื่นได้เลย เนื่องจากความทุกข์

                  ทรมานจากความปวดจะรบกวนการทำกิจวัตรประจำวันและการใช้ชีวิตอย่างมาก
                  เมื่อร่างกายยังมีความทุกข์ทรมานอยู่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและคุณภาพการดูแลผู้ป่วย

                  ตามมา ในการดูแลแบบประคับประคองยากลุ่ม Opioids เป็นยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพ
                  มากในการระงับความปวด องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำขั้นตอนการดูแล
                  ความปวด (WHO Analgesic Ladder) ซึ่งสรุปได้ว่า การดูแลความปวดไม่มากให้ใช้ยา

                  กลุ่ม non-opioids เมื่อความปวดรุนแรงขึ้นให้ใช้ยากลุ่ม weak opioids เมื่อผู้ป่วย
                  ปวดมากขึ้นอีกให้เปลี่ยนมาใช้ strong opioids (Aabha A. Anekar and Marco

                  Cascella, 2021)

                         สำหรับประเทศไทยเมื่อพิจารณาบัญชียาหลักแห่งชาติพบว่ามียากลุ่ม Opioids
                                                                   2
                  ที่ใช้ควบคุมความปวดแล้ว โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่ พระราชบัญญัติยาเสพติด
                  ให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559
                  และพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งยาแต่ละประเภทก็จะใช้กฎหมายควบคุมแตกต่างกัน




                     2   เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมร่วมรัฐสภามีมติเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดี
                  ยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และจะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป โดยผลของร่างกฎหมาย     การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
                  ดังกล่าวจะยกเลิก พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและ
                  ประสาท พ.ศ. 2559 และให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดแทน แต่เนื้อหาของกฎหมายไม่มีการเปลี่ยนแปลง
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135