Page 135 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 135
การประชุมวิชาการ
1 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ซึ่งเมื่อนำทั้ง 4 ประเด็นนี้มาใช้เป็นกรอบในการพิจารณานโยบายและกฎหมายที่สำคัญ
ของประเทศไทยอันได้แก่ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งกฎหมายบ้านเมือง
ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุข แล้วพบว่าประเทศไทยควรดำเนินการ
1. มีนโยบายระดับชาติที่ส่งเสริมเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง รวมทั้ง
มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ
ภาคประชาสังคม ในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง
2. พัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพทั้งในแง่ของการสร้างเส้นทางความก้าวหน้า
ในสายอาชีพ สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองสำหรับ
ประเทศไทย
3. ควรแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติ
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 เพื่อให้การยืมยาระหว่างโรงพยาบาล
สามารถทำได้ สร้างระบบการบริหารจัดการยาโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ รวมทั้ง
สร้างทัศนคติต่อการใช่ยากลุ่ม Opioids ของทั้งบุคลากรด้านสุขภาพและประชาชน
4. ลดความเหลื่อมล้ำของชุดสิทธิประโยชน์ในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง
โดยการแก้ไขหรือเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
5. สร้างระบบการดูแลแบบประคับประคองในชุมชนอย่างเป็นระบบโดย
มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติกำหนดหน้าที่ของโรงพยาบาลและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติ
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
6. แก้ปัญหาเกี่ยวกับการออกใบมรณะบัตรในกรณีที่ผู้ป่วยขอกลับมาตายที่บ้าน
โดยการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
เพื่อพัฒนาระบบการแจ้งตายให้แก่ญาติผู้ป่วย กรณีที่ผู้ป่วยขอกลับมาตายที่บ้าน
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4