Page 132 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 132

การประชุมวิชาการ   1 1
                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
                                                                                       ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                  แบบประคับประคองของสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ สิทธิประกันสังคม

                  สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แล้วพบว่าทั้ง 3 สิทธิมีความเหลื่อมล้ำและแตกต่างกันมาก
                  เนื่องจากข้อกฎหมายกำหนดเกณฑ์ในการเบิกจ่ายงบประมาณแตกต่างกัน


                             โดยสิทธิราชการเป็นการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาลเท่านั้น
                                                                                                   3
                  สิทธิประกันสังคมเป็นการให้การดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาลและจะต้องนำ
                  สิทธิประโยชน์ที่กฎหมายกำหนดไว้ 7 กรณีมาปรับใช้ในเรื่องการดูแลแบบประคับ

                  ประคอง  สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดชุดสิทธิในเรื่องการดูแลแบบประคับ
                          4
                  ประคองทั้งในสถานพยาบาล ชุมชน และที่บ้าน  เนื่องจากกฎหมายได้กำหนด
                                                                   6
                                                       5
                  คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติออกประกาศขยายสิทธิตามกฎหมายออกไปได้

                       ดังนั้นในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า หากใช้ชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. เป็นเกณฑ์
                  รัฐจะต้องพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ

                  และสิทธิประกันสังคมโดยการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษา
                  พยาบาล พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อควรลด

                  ความเหลื่อมล้ำกับสิทธิ สปสช. หรือควรพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์กลางที่ใช้สำหรับ
                  ทุกสิทธิหลักประกันสุขภาพ และควรพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสมกับ
                  สถานพยาบาลแต่ละระดับ(Setting) และจะต้องนำชุดสิทธิประโยชน์ที่ใช้ใน

                  สถานพยาบาลไปใช้นอกสถานพยาบาลได้ ซึ่งในประเด็นนี้เป็นเรื่องหลักการในทาง
                  นโยบายว่าจะไปแก้กฎหมายเดิมหรือพัฒนากฎหมายฉบับใหม่ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้อง

                  ตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา

                         5.4.2 ควรพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองที่ชุมชนหรือบ้าน การดูแล
                  ที่ชุมชนหรือที่บ้านถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตและในความเป็นจริง

                  บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายมักจะขอกลับไปใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายที่บ้าน
                  เพื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยมีญาติสนิท เพื่อนฝูงที่ใกล้ชิดคอยอยู่ดูแลและตายที่บ้าน
                  แต่การส่งต่อผู้ป่วยไปดูแลต่อที่ชุมชนหรือบ้านจะต้องมีการเตรียมการทั้งในส่วนของโรงพยาบาล
                  ฝ่ายปกครอง และที่บ้านของผู้ป่วย รวมทั้งฝ่ายปกครองในพื้นที่ กล่าวคือ




                     3   มาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553
                     4   มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

                     5   มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
                     6   มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และประกาศคณะกรรมการ   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
                  หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
                  แห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในแต่ละปี
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137