Page 127 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 127
การประชุมวิชาการ
12 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
สำหรับการดำเนินนโยบายในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองในปัจจุบันมีหลาย
หน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินการในมิติต่าง ๆ ได้แก่
กระทรวงสาธารณสุขมีแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) สาขา
การดูแลแบบประคับประคอง เพื่อเป็นนโยบายระดับกระทรวง โดยให้โรงพยาบาลในเขต
สุขภาพทั่วประเทศดำเนินการ แต่เนื่องจากสาขาการดูแลแบบประคับประคองเพิ่มเริ่ม
ดำเนินการมาเมื่อประมาณปี 2558 - 2559 ปัจจุบันแม้โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีหน่วยงาน
หรือบุคลการที่ให้บริการด้านการดูแลแบบประคับประคอง (อาจจะแยกเป็นหน่วยเฉพาะหรือ
รวมกับหน่วยอื่น) แต่อัตรากำลังยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
ในส่วนของนโยบายด้านการเงินสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ได้พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองสำหรับประชาชนที่ได้รับ
สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยเป็นการจัดบริการสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยทั้งในโรงพยาบาล
ในชุมชนและที่บ้าน
ในส่วนของเรื่องการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสื่อสารในการวางแผนการดูแลล่วงหน้าซึ่งเป็นองค์ประกอบของเรื่อง
การดูแลแบบประคับประคอง อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพ
แห่งชาติ (สช.)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำหน้าที่ให้งบประมาณ
สนับสนุนแก่เครือข่ายภาคประชาสังคมหรือบุคลากรด้านสุขภาพในเรื่องการดูแลแบบประคับ
ประคอง
องค์กรทางศาสนาได้แก่ มหาเถรสมาคมยังได้ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์
แห่งชาติ พ.ศ. 2560 ซึ่งในธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์นั้นจะมีการนำเรื่องการดูแลสุขภาพวะ
ในระยะท้ายของชีวิตของประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในการปฏิรูปคณะสงฆ์ด้วย
นอกจากนั้นยังมีการรวมกลุ่มของบุคลากรด้านสุขภาพ บุคลากรด้านศาสนา
วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือกลุ่มภาคประชาชน ในการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องการดูแลแบบ
ประคับประคองตามความเชี่ยวชาญของตนเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการดูแลแบบประคับประคอง
มีการดำเนินการในระดับปฏิบัติการและมีความหลากหลายไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่มาก
โดยที่การพัฒนาระบบบริหารจัดการของภาครัฐอย่างยั่งยืนสิ่งสำคัญยิ่งคือจะต้อง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 มีนโยบายและกฎหมายของรัฐในการสนับสนุนการดำเนินการ เนื่องจากนโยบายและกฎหมาย
เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารจัดการ การจัดสรรทรัพยากรของรัฐ การชี้นำแนวทาง
ในการดำเนินการแก่ส่วนราชการและสังคม ซึ่งเมื่อนำสถานการณ์ของประเทศไทยข้างต้น
มาพิจารณาร่วมกับแนวทางในทางสากลที่ได้วางหลักไว้พบว่า