Page 124 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 124
การประชุมวิชาการ 12
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
4. นโยบายและกฎหมายที่สำคัญของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่องการดูแลผู้สูงอายุและการดูแแบบประคับประคอง
4.1 นโยบายที่สำคัญของประเทศไทย จากการศึกษานโยบายที่สำคัญของประเทศไทย
ผู้เขียนพบว่า แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศ และแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็นนโยบายระดับชาติที่ส่งผลต่อการดำเนินการของ
ส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งการกำหนดและการดำเนินนโยบาย การจัดทำแผนปฏิบัติการหรือ
แผนงานโครงการ การจัดทำตัวชี้วัด การจัดทำแผนงบประมาณ เนื่องจากนโยบายเหล่านี้
มีกฎหมายกำหนดให้ส่วนราชการจะต้องดำเนินการตาม และเมื่อพิจารณาเฉพาะเรื่องการดูแล
ผู้สูงอายุและการดูแลแบบประคับประคอง สรุปได้ดังต่อไปนี้
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้แก่การเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัย โดยมี
การพัฒนาศักยภาพตลอดช่วงชีวิต การดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของผู้สูงอายุ
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุให้ดำเนินชีวิต
ได้อย่างมีคุณภาพ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ
แผนปฏิรูปประเทศ เพื่อให้แผนยุทธชาติ 20 ปี บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม
จึงมีการจัดทำแผนปฏิรูปประเทศขึ้นเพื่อทำการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ โดยมีแผนปฏิรูป
ประเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ได้แก่
(1) แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ต้องการให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยยกระดับการดูแลด้านสุขภาพเป็นภารกิจหลักที่ต้องเร่งปฏิรูปเพื่อรองรับกับจำนวนผู้สูงอายุ
ที่เพิ่มขึ้น เพิ่มความสามารถในการดูแลตัวเองของผู้สูงอายุ จัดให้มีผู้บริบาลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
ทั้งปริมาณและคุณภาพ สร้างระบบการดูแลรักษาพยาบาลที่บ้านและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งถึงวาะสุดท้ายของชีวิตจากทีมแพทย์ครอบครัวเพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยระยะท้าย
มีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ มีการพัฒนาระบบและกลไก
การบริบาลที่บูรณาการความร่วมมือระดับชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน นอกจากนั้น
จะต้องสร้างระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล และกลไกการเงินที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว
(2) แผนการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงานและการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต มีทักษะการดำรงชีวิต
เรียนรู้พัฒนาตลอดชีวิต มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคม โดยส่งเสริม
ให้ผู้สูงอายุมีทักษะอาชีพ มีงานที่เหมาะสมกับศักยภาพ สร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค
และสนับสนุนหลักประกันทางสังคมที่สอดคล้องกับความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4