Page 128 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 128
การประชุมวิชาการ 127
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ยุทธศาสตร์หลักในปัจจุบันจะเน้นไปที่การสร้างศักยภาพให้ผู้สูงอายุมีงานทำภายหลัง
เกษียณ แต่ยุทธศาสตร์ที่ภาครัฐควรจะต้องดำเนินการ คือ ต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่อง
การดูแลในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตและเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง นอกจากนั้น
นโยบายของภาครัฐจะต้องสร้างความร่วมมือกับทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม
ที่ทำงานในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองเพื่อให้บูรณาการความร่วมมือกันในการทำงาน
ในพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากจะต้องมีนโยบายระดับชาติในเรื่องการผสานความร่วมมือแล้ว
ยังจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการบูรณาการการทำงานร่วมกันด้วย
สำหรับในแง่ของข้อกฎหมายนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองจะกระจาย
ไปในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติหลายฉบับทั้งกฎหมายการแพทย์ กฎหมายสาธารณสุข
และกฎหมายสังคมด้านอื่น ๆ โดยจะมีการกล่าวถึงในหัวข้อถัดไปแต่สามารถกล่าวโดยสรุป
ได้ว่า ยังมีข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุและการดูแล
แบบประคับประคอง
5.2 ประเทศไทยกำลังเริ่มพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง
การดูแลแบบประคับประคอง ตามแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขที่จะยกระดับการบริการ
สุขภาพผู้สูงอายุเพื่อรองรับกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ต้องเพิ่มทั้งปริมาณ
และคุณภาพของบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ
ประเทศไทยเริ่มพัฒนางานวิชาการในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองครั้งแรกเมื่อ
ราว ปี พ.ศ. 2535 และมีการอบรมระดับประเทศ National Workshop on Cancer Pain
และใน ปี พ.ศ. 2540 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการอบรมเชิง
ปฏิบัติการด้านการดูแลแบบประคับประคองสำหรับบุคลากรสหสาขาวิชาชีพจากทั่วประเทศ
เป็นครั้งแรก (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2563)
ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนการดูแลแบบประคับ
ประคองอย่างเป็นรูปธรรม โดยในหลักสูตรแพทยศาสตร์ศึกษาและหลักสูตรพยาบาลศาสตร์
ศึกษาได้นำเรื่องการดูแลแบบประคับประคองเข้าไปในหลักสูตรการศึกษาก่อนปริญญาแล้ว
ส่วนหลักสูตรหลังปริญญานั้นราชวิทยาลัยเวชศาสตร์ครอบครัวและสภาการพยาบาลได้พัฒนา
หลักสูตรเฉพาะทางด้านการดูแลแบบประคับประคองสำหรับแพทย์และพยาบาลแล้ว นอกจากนั้น
สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย กรมการแพทย์ สช. และ สปสช. ได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสุขภาพในเขตสุขภาพทั่วประเทศให้มีความรู้ในเรื่องการดูแล
แบบประคับประคอง
แต่เนื่องจากเพิ่งเริ่มพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองไม่นานทำให้มีจำนวน
บุคลากรด้านสุขภาพที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อความต้องการจาก การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
ข้อมูลการตรวจราชการของกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2562 ได้รวบรวมจำนวนแพทย์