Page 125 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 125

การประชุมวิชาการ
         12  สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
              ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                       (3) แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา พัฒนาศักยภาพตลอดช่วงชีวิตตั้งแต่

               การตั้งครรภ์จนถึงช่วงวัยผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต มีทักษะ
               การดำรงชีวิตเรียนรู้พัฒนาตลอดชีวิต มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคม
               เพิ่มขึ้น

                       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. 2560 - 2564

               ให้ความสำคัญกับการที่สังคมไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลง ผู้สูงอายุ
               มีปัญหาสุขภาพและมีแนวโน้มอยู่คนเดียวสูงขึ้น ปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุส่งผลต่อ
               ภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐ ดังนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุโดยเน้นพัฒนาทักษะที่เอื้อต่อ
               การประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยสูงอายุ ส่งเสริมการสร้างรายได้และการมีงานทำของ

               ผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญกับการจัดบริการด้านสาธารณสุขของรัฐที่มีคุณภาพ นอกจากนั้น
               ยังต้องผลักดันให้มีกฎหมายการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุครอบคลุมการจัดบริการทั้ง
               ภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และระบบการเงินการคลัง กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการ
               หลักประกันการดำรงชีวิตหลังเกษียณ เพิ่มการจัดสวัสดิการสังคม เช่น เพิ่มเบี้ยเบี้ยยังชีพ

               ผู้สูงอายุที่ยากจนให้เพียงพอที่จะดำรงชีพได้ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวย
               ความสะดวกเพื่อสนับสนุนการเดินทางของผู้สูงอายุ พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และ
               นวัตกรรมของประเทศไทยเพื่อสังคมผู้สูงอายุ

                     4.2 กฎหมายที่สำคัญของประเทศไทย หากพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร

               ราชการแผ่นดิน การจัดสรรทรัพยากรของรัฐที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุและการดูแล
               แบบประคับประคอง พบว่ามีกฎหมายที่สำคัญได้แก่

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ
               ตามรัฐธรรมนูญและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการแพทย์และ

               การสาธารณสุขของประชากร ได้แก่ มาตรา 47 มาตรา 55 และมาตรา 258

                       กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุและการดูแลแบบประคับประคองในมิติ
               ต่าง ๆ ได้แก่ พระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534, พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ

               พ.ศ. 2550, พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545, พระราชกฤษฎีกา
               เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553, พระราชบัญญัติประกันสังคม
               พ.ศ. 2533, พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์
               ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559, พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510, กฎหมายวิชาชีพต่าง ๆ,
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
               กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130