Page 121 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 121

การประชุมวิชาการ
         120 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
              ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

               ตามพัฒนาการของสังคม การรักษาพยาบาลในอดีตส่วนใหญ่เป็นตามความต้องการและอำนาจ

               การตัดสินใจของแพทย์แต่ลำพัง (Doctor Autonomy) แต่เมื่อสังคมได้รับอิทธิพลจากแนวคิด
               ปัจเจกชนและประชาธิปไตย ทำให้ยอมรับว่าผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาพยาบาล
               มีอำนาจและอิสระในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาด้วยตนเองได้ (Patient Autonomy)
               จึงทำให้เกิดหลักการยินยอมในการรักษาพยาบาล (Informed consent) ซึ่งเป็นการแสดงถึง

               การเคารพสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ สิทธิในชีวิตและร่างกายตลอดจนสิทธิในความเป็น
               ส่วนตัวของผู้ป่วย (แสวง บุญเฉลิมวิภาส และคณะ, 2564) และปัจจุบันแนวคิดเรื่องสุขภาพได้
               เปลี่ยนแปลงไปอีกระดับหนึ่งคือยังคำนึงถึงบริบทของสังคมและชุมชนด้วย เนื่องจากสาเหตุของ
               ความเจ็บป่วยในปัจจุบันไม่ใช่เพียงแค่เกิดจากเชื้อโรคเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยด้านพฤติกรรมและ

               สังคมที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือที่เรียกว่าปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social determinant
               of health)(สุนีย์ สุขร่าง บรรณาธิการ, 2560) ดังนั้นระบบสุขภาพจึงต้องให้ความสำคัญกับ
               สิทธิผู้ป่วย ความต้องการของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต โดยเชื่อมโยงกับ
               บริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ปัญหาคือปัจจุบันบุคลากรสุขภาพไทยมองสุขภาพผ่านมิติ

               ทางการแพทย์เท่านั้น ไม่ค่อยคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย จำกัดบทบาทตนเองไว้ที่มิติทางการแพทย์
               ซึ่งเป็นการมองระบบสุขภาพในลักษณะที่แยกขาดจากมิติอื่นของสังคม

                     ดังนั้นโดยสรุป เมื่อมีความจำเป็นทางประชากรศาสตร์ที่มีผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่โรคที่เป็น
               โรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคมก็มีการพัฒนาไปจน

               ทำให้เกิดสังคมเมือง ทัศนคติที่เกี่ยวกับความตายเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งประชากรมีสำนึก
               ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมากยิ่งขึ้น เหล่านี้ทำให้รูปแบบและบริบททางการแพทย์จะต้อง
               เปลี่ยนแปลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาศาสตร์ในเรื่องการดูแลแบบ
               ประคับประคองที่มีองค์ความรู้เฉพาะที่เหมาะสมกับศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีไทย


                     ในต่างประเทศมีการศึกษาเป็นจำนวนมากพบว่าการดูแลแบบประคับประคองช่วยเพิ่ม
               คุณภาพชีวิตและช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในทุกระดับของการดูแล ช่วยลดการกลับเข้า
               รักษาตัวในโรงพยาบาล (readmission rates) ลดการเข้ารักษาตัวในหอผู้ป่วยระยะวิกฤตและ
               เพิ่มความพึงพอใจในการรักษาให้ผู้ป่วยและครอบครัว การมีการดูแลแบบประคับประคอง

               ในการดูแลที่บ้านช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแล และลดการมาห้องฉุกเฉิน ลดการกลับเข้ารักษาตัว
               ในโรงพยาบาล รวมถึงลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล การมีระบบการดูแลแบบประคับประคอง
               ที่บ้าน ช่วยลดค่าใช้จ่ายและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ จะเห็นได้ว่าการดูแลแบบประคับ

               ประคอง เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องพัฒนาให้เกิดระบบบริการที่มีคุณภาพที่ผู้ป่วยระยะท้าย
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
               และครอบครัวต้องเข้าถึงได้ ทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน (กรมการแพทย์, 2563)
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126