Page 120 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 120
การประชุมวิชาการ 11
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
7,689,605 คน พบว่ามีผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 192,290 คน ติดเตียง 45,287 คน
(กรมอนามัย, 2564) และตัวเลขนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น
ในแต่ละปี นอกจากนั้น จากฐานข้อมูล Health Data Center (HDC) พบว่า อัตราป่วยด้วย
โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง (อายุ 15 ปีขึ้นไป) อัตราป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดสมอง ในปี พ.ศ. 2559 - 2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (กรมอนามัย, 2562)
และมีข้อมูลการสำรวจพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร
หรือประมาณ 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน และป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย
(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2562)
2.2 การขยายตัวของสังคมเมืองมากขึ้น จึงเกิดความต้องการระบบและรูปแบบ
การให้บริการทางการแพทย์และการดูแลประชากรสูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสังคมเมือง
โดยเฉพาะ จากการพัฒนาเศรษฐกิจส่งผลให้ประชากรอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาสู่เขตเมือง
เป็นจำนวนมาก การที่มีประชากรเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากก่อให้เกิดปัญหาสุขลักษณะ
และการจัดระบบบริการทางการแพทย์ หากพิจารณาเฉพาะเรื่องการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย
เรื้อรังที่ใกล้จะตาย พบว่ามีปัญหาระบบการแพทย์ในสังคมเมืองที่ไม่มีระบบการดูแลแบบ
ปฐมภูมิที่มีประสิทธิภาพ ขาดสถานที่ในการดูแล และเกิดกรณีการดูแลผู้ที่ใกล้จะเสียชีวิต
ในคอนโดมิเนียมหรือที่พักอาศัยที่เป็นตึกสูงจะบริหารจัดการอย่างไร ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนา
รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองในสังคมเมืองเป็นการเฉพาะ
2.3 ทัศนคติเกี่ยวกับความตายในสังคมสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดการใช้
เทคโนโลยีทางการแพทย์เกินจำเป็น โดยในสังคมสมัยใหม่ให้ความหมายของความตายว่า
“การสิ้นสุดของชีวิต” ไม่ใช่ “เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต” ความตายเป็นความทุกข์ทรมานและ
เลวร้ายที่สุดในชีวิต ดังนั้นจึงต้องหลีกเลี่ยงความตายโดยอาศัยเทคโนโลยีทางการการแพทย์
แม้ว่าวิธีการเหล่านั้นจะทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมาน การรักษาโรคไม่ได้ คือ
ความล้มเหลวทางการแพทย์ การปล่อยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังตายตามธรรมชาติ
จึงทำไม่ได้ ต้องทำทุกวิถีทางในการยื้อความตายหรือทำให้ตายช้าที่สุด แม้การรักษานั้นจะไม่ก่อ
ให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ (Medical Futility) แต่กลับสร้างความทุกข์ทรมานแทน
ซึ่งกระบวนการยื้อความตายเหล่านี้ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ญาติ บุคลากร
ทางการแพทย์และระบบบริการสาธารณสุขโดยรวมอย่างมาก (ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ,
2546)
2.4 จากพัฒนาการของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมไทยทำให้
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระบบบริการสุขภาพของประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ จาก
พัฒนาการของแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในประเทศไทยส่งผลให้เกิดความต้องการ
การดูแลหรือการรักษาพยาบาลที่คำนึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ กล่าวคือ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
แนวคิดด้านการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทยซึ่งมีลักษณะเป็น “พลวัตร”