Page 118 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 118

การประชุมวิชาการ   117
                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
                                                                                       ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                  workers regarding the use of opioids for pain relief for the elderly and chronically ill.

                  The Thai state also has a problem of disparity in the benefits package of the three
                  health insurance systems in palliative care. The Thai state has not yet developed a
                  concrete care system for the elderly and the chronically ill at home. The Thai state
                  also has difficulty issuing death certificates to the elderly or chronically ill who wish

                  to return to their homes to die.

                  Keywords: palliative care


                  1. บทนำ


                       จากการที่สังคมไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังรุนแรงและรักษาไม่หายเพิ่ม

                  มากขึ้น มีการขยายตัวของสังคมเมืองมากขึ้น ตลอดจนทัศนคติเกี่ยวกับความตายในสังคม
                  สมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เกินจำเป็น และ
                  จากพัฒนาการของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมไทยทำให้ประชาชนเข้ามา
                  มีส่วนร่วมในการจัดระบบบริการสุขภาพของประเทศมากขึ้นเรื่อย ทำให้มีความจำเป็นต้อง

                  พัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองเพื่อรองรับกับความท้าทายดังกล่าว

                       หากพิจารณาองค์ความรู้ทางการแพทย์ในระดับสากลพบว่ามีการพัฒนาศาสตร์
                  ในเรื่อง “การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)” ขึ้นมาเพื่อใช้ในการดูแล

                  ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้แล้ว โดยการดูแลแบบประคับ
                  ประคองมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย “มีคุณภาพชีวิตที่ดี”

                  ตามสภาพของร่างกายและการดำเนินโรคของตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วย
                  โรคเรื้อรังเหล่านั้นมีสุขภาพวะที่ดีในระยะท้ายของชีวิตและตายดี

                       การตายดี คือ การตายโดยที่ผู้ป่วยได้รับรู้ว่าความต้องการของเขาได้รับการดูแล

                  ให้ปลอดจากความทุกข์ทรมานทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตั้งแต่ก่อนเข้าถึง
                  ช่วงใกล้ตาย สมาชิกในครอบครัวและทีมสุขภาพมีความเคารพและยอมรับความต้องการ

                  ของผู้ป่วย  เมื่อพิจารณาจากนิยามดังกล่าว การตายจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมิติทาง
                           1
                  การแพทย์อย่างเดียวเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องมิติทางสังคม วัฒนธรรม การบริหารจัดการ
                  ของภาครัฐ







                     1   ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง นิยามปฏิบัติการ (Operational definition) ของคำ    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
                  ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2563
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123