Page 119 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 119

การประชุมวิชาการ
         118 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
              ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                     บทความชิ้นนี้จะเป็นการศึกษานโยบายและกฎหมายของรัฐที่เกี่ยวข้องหรือส่งผล

               ต่อการตายดีของประชาชน โดยศึกษาจากบทความวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับ
               นานาชาติและนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับนโยบายหรือกฎหมายที่สำคัญของรัฐไทย

               เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายและกฎหมายของรัฐเพื่อเตรียม
               ความพร้อมให้กับระบบสังคม ระบบบริการจัดการภาครัฐเพื่อรองรับกับความท้าทาย
               ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


               2. ความสำคัญของการดูแลแบบประคับประคองกับสังคมไทย


                     การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) เป็นรูปแบบการดูแลที่ผสมผสานการดูแล
               ทางการแพทย์ ทางสังคม ทางจิตใจและทางจิตวิญญาณ เข้าด้วยกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้
               ผู้ที่ได้รับการดูแลมี “คุณภาพชีวิตที่ดี” เท่าที่สภาพร่างกายและการดำเนินโรคของผู้ป่วย
               จะเอื้ออำนวย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้นั้นจากไปอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ดังนั้นการดูแล

               แบบประคับประคองจึงเป็นการ “เปลี่ยนเป้าหมาย” การดูแลจากเดิมที่มุ่งให้ “หายขาดจาก
               อาการ” เป็นให้ “อยู่กับอาการ” ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าที่
               สภาพร่างกายและการดำเนินโรคของผู้ป่วยจะเอื้ออำนวย

                     การพัฒนาศาสตร์ด้านการดูแลแบบประคับประคองเริ่มต้นในสังคมตะวันตกก่อนสังคม

               ไทยทั้งนี้เป็นเพราะสังคมตะวันตกเผชิญหน้ากับปัญหาความท้าทายทางประชากรศาสตร์และ
               การนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้ในการรักษาเกินควรก่อน กล่าวคือ เมื่อมีผู้ป่วยที่เป็น
               โรคเรื้อรังที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้และจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการนำ

               เทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้ในการดูแลเกินสมควรจนยื้อความตายออกไปได้ ทำให้ผู้ป่วย
               เรื้อรังหรือผู้สูงอายุอยู่ในสภาพ “ฟื้นไม่ได้ตายไม่ลง” นอนติดเตียงอยู่เป็นจำนวนมาก สภาพ
               ของผู้ป่วยที่อยู่ติดเตียงพร้อมด้วยเครื่องมือทางการแพทย์เป็นสภาพที่น่าหดหู่ใจสำหรับผู้พบเห็น
               ในสังคมตะวันตกจึงเกิดคำถามว่ากระบวนการทางการแพทย์เหล่านี้เป็นการไปละเมิดสิทธิหรือ
               ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่ มูลเหตุดังกล่าวทำให้เกิดแนวคิดของการ “หาความสมดุล”

               ระหว่างกระบวนการดูแลทางการแพทย์ที่เหมาะสมไม่เป็นการเร่งการตายหรือยืดการตายแต่ยัง
               คงรักษาและดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จนกระทั่งผู้นั้นเสียชีวิต

                     สำหรับสังคมไทยการพัฒนาศาสตร์ของการดูแลแบบประคับประคองเกิดขึ้นจาก

               ความจำเป็น 4 ประการ คือ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4   มากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว กล่าวคือ
                     2.1 สังคมไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังรุนแรงและรักษาไม่หายเพิ่ม


               มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ (กรมอนามัย,

               2563) และจากรายงาน Health data center ของกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 30
               กันยายน 2563 คัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) ผู้สูงอายุจำนวน
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124