Page 78 - b28783_Fulltext
P. 78

ชุมชนท้องถิ่นเผชิญวิกฤติก่อนโควิด โครงสร้างทรัพยากร ผลิต ตลาด เศรษฐกิจมาต่อเนื่องก่อน
                  โควิด โควิดจึงเป็นปัจจัยท าให้เกิดวิกฤติที่รุนแรงมากขึ้น

                           ปัญหาเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ท าให้ชุมชนอ่อนแอลง เสี่ยง ขาดทางเลือก หลายปัจจัยเป็นความ
                  เสี่ยงที่จัดการไม่ได้ เช่น ปัญหาระบบนิเวศ ฐานทรัพยากร กลไกตลาด และยังเผชิญปัญหานโยบายและ
                  มาตรการของรัฐก่อนโควิดที่ท าให้ชุมชนอ่อนแอลง เช่น ระบบเงินกู้กับปัญหาหนี้สิน ระบบการจัดการ
                  ทรัพยากร และความอ่อนแอท าให้ทางเลือกในการปรับตัวเป็นไปได้จ ากัด การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม

                  ชุมชน ไม่ควรมองแยกสภาวะโควิดออกมาเดี่ยว ๆ โดยไม่โยงกับโครงสร้างปัญหาที่ด ารงอยู่ก่อน
                           ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจชุมชนเชื่อมโยงกันในระดับภูมิภาคที่มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจส าคัญ
                  เช่น ศูนย์กลางการค้า การท่องเที่ยว แรงงาน ตลาด ฯลฯ เมื่อเกิดผลกระทบในจุดต่างๆ จะเชื่อมโยงกันทั้ง
                  ระบบ ดังนั้น การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ต้องออกแบบให้เป็นระบบการจัดการในระดับภูมิ

                  ทัศน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากร มากกว่าเพียงด าเนินการเป็นจุด ๆ
                           การสร้างความมั่นคงอาหารเป็นจุดเริ่มต้นและแนวทางสร้างฐานชุมชนที่ยั่งยืน ทุกชุมชนเข้าถึง
                  ทรัพยากรอาหารธรรมชาติท้องถิ่น ปลูกพืชผักผลไม้ในครัวเรือน และใช้กลไกตลาดอาหารท้องถิ่นในสร้าง
                  การเข้าถึงอาหาร ทิศทางส่งเสริมความมั่นคงอาหารในทุกมิติ (ปกป้องนิเวศ จัดการทรัพยากร การผลิตที่

                  ยั่งยืน ตลาดท้องถิ่นให้เข้มแข็ง) เป็นทั้งมาตรการเร่งด่วนและหลักการสร้างความยั่งยืนในระยะยะยาว
                           ทุนทางสังคมที่สั่งสมต่อเนื่องและทางเลือกที่หลากหลายคือค าตอบในภาวะวิกฤติ ชุมชนที่มีการ
                  สร้างความเข้มแข็งต่อเนื่อง เช่น มีระบบการจัดการทรัพยากร มีระบบการเงินชุมชน มีการพัฒนาการผลิตที่

                  ยั่งยืนและหลากหลาย กลไกสุขภาพในชุมชน และมีความสัมพันธ์ในชุมชนที่ดี ท าให้มีศักยภาพในการรับมือ
                  ต่อการเปลี่ยนแปลงได้สูง
                           ความเกื้อกูลระบบความสัมพันธ์ชุมชนกับเมือง ในภาวะปรกติ ลูกหลานที่ท างานในเมืองหา
                  รายได้เพียงด ารงชีพให้รอด มีแค่บางส่วนที่ส่งเงินกลับมาสู่ครอบครัวชนบท ในภาวะวิกฤติ แม้ชนบทจะ
                  ประสบปัญหาแต่ก็ยังเป็นพลังหนุน (เงิน อาหาร) ให้กับคนท างานในเมือง การสร้างฐานชนบทให้เข้มแข็ง

                  (ฐานทรัพยากร การผลิต เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม) จึงไม่เพียงช่วยเหลือชุมชน แต่ยังส่งผลต่อคุณภาพ
                  การด ารงชีพของแรงงานในเมืองด้วย
                           นโยบายการคุ้มครองทางสังคมแก่ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนเผชิญภาวะเสี่ยงก่อนโควิด โควิด และ

                  อื่นๆ ที่จะตามมา สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาโครงสร้างและความเปราะบางทางสังคม ข้อเรียกร้องของชุมชน
                  สะท้อนถึงการต้องการระบบ “การคุ้มครองทางสังคม” ทั้งความมั่นคงนิเวศ ฐานทรัพยากร การผลิต
                  การตลาด การประกันราคา กองทุน ฯลฯ โดยระบบการคุ้มครองควรพัฒนาในระดับภูมิทัศน์ (นิเวศ
                  เศรษฐกิจ สังคม) และเชื่อมโยงจากชนบทสู่เมือง มีเครือข่ายทางสังคมและเชื่อมโยงกัน

                           วิกฤติเศรษฐกิจผสานกับวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่ส าคัญคือ สภาวะโลกร้อน (ภัยแล้ง โรคระบาด
                  ผลผลิตตกต่ า นิเวศเสื่อมโทรม ฯลฯ) จะเป็นพายุครั้งใหญ่ที่จะกระทบชุมชนและโยงไปถึงสังคมทั้งระบบ
                  เป็นสิ่งที่รัฐและสังคมต้องเร่งออกแบบการตั้งรับ ปรับตัว และเปลี่ยนผ่านชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็งโดย
                  เร่งด่วน


                     5.9 ความเชื่อมโยงระหว่างงานศึกษาเชิงปริมาณกับงานศึกษาเชิงคุณภาพ

                        ผลการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ถูกออกแบบให้เชื่อมโยงกัน โดยการศึกษาเชิงปริมาณ
                  เก็บตัวอย่างจากกลุ่มเกษตรกร 1,000 ชุด 5 ภูมิภาค จาก 3 กลุ่มหลัก คือ ชาวนา ชาวไร่พาณิชย์ และ
                  ชาวสวนผักและผลไม้ ซึ่งด าเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 อันเป็นช่วงที่ผลกระทบจากวิกฤติ


                                                                                                       63
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83