Page 79 - b28783_Fulltext
P. 79
เศรษฐกิจโควิดรุนแรงจากมาตรการกักตัว การสร้างระยะห่างทางสังคม และความตื่นตระหนกของสังคม
ผลที่ได้ถูกน าไปตรวจเช็คและทดสอบกับการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งแม้จะมีพื้นที่ที่แตกต่างกัน หน่วย
การศึกษาที่แตกต่างกัน (งานศึกษาเชิงคุณภาพหน่วยเป็นชุมชน) และด าเนินการในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องมา
ซึ่งเป็นช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจโควิดมีความซับซ้อนขึ้น ผลสรุปที่ได้มีความเชื่อมโยงกันดังนี้
1. เกษตรกร ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติโควิดทั้งด้านความมั่นคงอาหาร การเข้าถึงตลาด
การขายสินค้า ท าให้รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่รายได้ลดลง งานศึกษาเชิงปริมาณได้ให้ข้อมูลถึงผลกระทบ
ดังกล่าว โดยชี้ว่า เกษตรกรบนฐานการผลิตต่างๆ มีผลกระทบต่างกัน ขึ้นอยู่กับช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด
ซึ่งกลุ่มผู้ปลูกยางพารา พืชผักผลไม้ ได้รับกระทบมากที่สุดจากการที่ช่วงผลผลิตสู่ตลาดตรงกับช่วงล็อค
ดาวน์พอดี ปัญหาดังกล่าวได้รับการยืนยันจากงานวิจัยเชิงคุณภาพ แต่สิ่งที่งานวิจัยเชิงคุณภาพไปได้ลึกกว่า
ก็คือ การชี้เห็นว่า วิกฤติที่ชุมชนเผชิญนั้นมีมาก่อนโควิด จากปัญหาทรัพยากร ปัญหาระบบการผลิต ปัญหา
การแปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ปัญหากลไกตลาด ซึ่งท าให้ชุมชนประสบความอ่อนแอ เปราะบางมาก่อน
วิกฤติโควิด หรือกล่าวอีกอย่างคือชุมชนมีวิกฤติมาก่อนโควิด ดังนั้นเมื่อเจอกับโควิด ท าให้ชุมชนยิ่งอ่อนแอ
ลงอย่างรวดเร็ว
2. ปัญหาแรงงานกลับคืนถิ่น งานวิจัยเชิงปริมาณบ่งชี้สภาพแรงงานที่ไม่ค่อยกลับคืนถิ่น โดย
พิจารณาตัวเลขที่ตอบแบบสอบถามในช่วงล็อคดาวน์ ที่ยังไม่ชัดเจนว่า เหตุผลเบื้องลึกที่ท าให้ผู้คนเหล่านั้น
ไม่กลับสู่การผลิตชนบท จากการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า แรงงานที่ไม่กลับคืนถิ่นนั้น ไม่ได้มีความหวัง
อนาคตเศรษฐกิจของการท าเกษตร และไม่ได้มีทักษะที่จะท าเกษตรเหมือนพ่อแม่ จึงเหลือทางเดียวคือรอ
คอยการท างานในเมือง นอกจากนี้งานเชิงคุณภาพยังช่วยขยายภาพความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานในเมือง
กับชนบทว่า แท้ที่จริงแรงงานมีสภาพเลี้ยงชีพเพื่อเอาตัวรอด ไม่ได้มีบทบาทสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน
เท่าใดนักมาก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโควิด กลายเป็นว่าครอบครัวเครือญาติในชุมชนกลับ
ช่วยส่งเงิน อาหาร และปัจจัยต่างๆ ให้กับแรงงานที่ไปท างานในเมือง
3.กระบวนการปรับตัว งานวิจัยเชิงปริมาณไม่ได้ให้ภาพการปรับตัวมากนัก และมีแนวโน้มชี้
ไปว่าเกษตรกรยังไม่ค่อยปรับตัว แต่ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า กระบวนการปรับตัวของชุมชนมีมา
ต่อเนื่อง ทั้งเรื่องจัดการทรัพยากร การสร้างความมั่นคงอาหารในครัวเรือนและชุมชน ปรับการผลิต ปรับ
ลดรายจ่าย เพิ่มความหลากหลายการผลิต เพิ่มอาชีพและวิถีรายได้ แต่การปรับเหล่านั้นเป็นไปได้จ ากัด
เพราะชุมชนตกอยู่ในโครงสร้างความเสี่ยง เหลื่อมล้ า ไม่เป็นธรรม ไม่มีระบบรองรับสนับสนุนทั้งเรื่องปัญหา
ความเสื่อมโทรมหรือถูกปิดกั้นเข้าถึงทรัพยากร การตกอยู่ภาวะหนี้สินของกลุ่มทุน ปัญหาขาดอ านาจ
ต่อรองกับตลาด ปัญหาการเข้าถึงตลาดออนไลน์ นอกจากนี้ความสามารถการปรับตัวก็แตกต่างกัน ชุมชนที่
มีฐานทรัพยากรสมบูรณ์หรือมีการจัดการให้ทรัพยากรสมบูรณ์ ชุมชนที่มีการผลิตหลากหลาย และผลิตเพื่อ
ความมั่นคงอาหาร ชุมชนที่มีระบบการเงินชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนที่มีตลาดท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ชุมชนเหล่านี้จะ
มีความสามารถตั้งรับ ปรับตัว และฟื้นคืนสภาพได้ดีกว่าชุมชนที่ไม่มีฐานเหล่านี้
กล่าวโดยสรุป งานวิจัยเชิงปริมาณให้ภาพปรากฏในระดับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ไม่เห็นที่ถึง
สาเหตุ ที่มา โครงสร้างที่ด ารงอยู่ และไม่เห็นบทเรียน และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสังคมที่ชุมชนเผชิญ
หรือต่อรอง งานวิจัยเชิงคุณภาพไม่เพียงแต่ช่วยยืนยันผลการศึกษาปริมาณ แต่ยังท าให้เห็นจุดเน้น และทิศ
ทางการปรับตัว ตลอดจนข้อเสนอแนะทางนโยบายที่ชัดเจนเป็นระบบมากขึ้น
5.10 ข้อเสนอทางนโยบาย
64