Page 81 - b28783_Fulltext
P. 81

2.  ศึกษาชี้วัดความมั่นคงอาหารของครัวเรือนและชุมชน เพื่อให้ชุมชนและภาคีรัฐและสังคมได้
                  ประเมินสถานภาพความมั่นคงอาหารของชุมชนได้อย่างถูกต้อง เพื่อน าไปสู่การวางแผนพัฒนาความมั่นคง

                  อาหารของชุมชน
                           3.  ศึกษาและพัฒนาโมเดลการจัดการท้องถิ่นที่เข้มแข็งในแบบต่างๆ ทั้งการจัดการทรัพยากร
                  ยั่งยืน การผลิตที่ยั่งยืน การสร้างกลไกการเข้าถึง กระจายอาหารในท้องถิ่น ฯลฯ และน าโมเดลการพัฒนา
                  เหล่านี้ไปออกแบบและขับเคลื่อนนโยบายทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

                           4.  ส่งเสริมให้แรงงานที่กลับบ้าน พัฒนาศักยภาพเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ไปช่วยสร้างความมั่นคง
                  อาหาร พัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่หลากหลาย
                           5.  สนับสนุน คุ้มครองสิทธิชุมชนในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เข้มแข็งและ
                  ยั่งยืน เพราะฐานทรัพยากรที่สมบูรณ์จะเป็นต้นทางของการพึ่งตนเองด้านอาหารและพัฒนาเศรษฐกิจที่

                  เข้มแข็ง
                           6.  ขยายผลเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างเร่งด่วน โดยมีปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น การ
                  จัดการน้ าในไร่นา และกระบวนการเรียนรู้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมของชุมชน ฯลฯ โดยเปลี่ยนผ่านเกษตรกร
                  รายย่อยที่ท าเกษตรพาณิชย์เชิงเดี่ยวมาสู่เกษตรกรรมยั่งยืนที่หลากหลาย มั่นคง

                           7.  เร่งส่งเสริมเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสาร การจัดการทรัพยากร การผลิต การกระจายอาหาร
                  การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นทุกรูปแบบให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเป็นเทคโนโลยีที่ชุมชน
                  เข้าถึง ใช้ประโยชน์ได้จริง และพัฒนา

                           8.  คุ้มครอง สนับสนุนตลาดชุมชน ตลาดท้องถิ่นให้มีบทบาทหลักในการกระจายอาหาร
                  ทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อเป็นแรงกระตุ้นการผลิตและการบริโภค สร้างเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองมากกว่า
                  พึ่งภายนอกเพียงอย่างเดียว
                           9.  พัฒนาระบบการเงินชุมชน สวัสดิการชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ วิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง
                  เพื่อเป็นฐานสนับสนุนให้ชุมชนมีศักยภาพและอ านาจต่อรองทางเศรษฐกิจ และมีระบบสวัสดิการที่เข้มแข็ง

                  มากขึ้น
                           10.  สร้างระบบข้อมูล และ platform ที่เชื่อมโยงหนุนเสริมการผลิตของเกษตรกร การกระจาย
                  อาหาร สู่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค โดยเป็นระบบที่ชุมชนเข้าถึงง่าย สร้างการเรียนรู้และความสัมพันธ์

                  ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค มีกลไกการดูแลสิทธิเกษตรกรและผู้บริโภค
                           11.  ส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านอาหารของเมือง ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชนเมืองเข้าถึงพื้นที่
                  สาธารณะ สร้างการผลิตอาหาร และกระจายอาหารในภาคเมือง
                           12.  พัฒนาระบบโลจิสติกส์การขนส่ง กระจายอาหารในระดับท้องถิ่นอย่างเหมาะสมกับเศรษฐกิจ

                  และวิถีท้องถิ่น แทนการพึ่งพาต่อระบบเอกชนรายใหญ่
                           13.  ปรับโครงสร้างการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน น้ า ป่า พันธุกรรม แร่ ฯลฯ โดย
                  กระจายอ านาจสู่ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เพื่อตอบสนองการผลิตที่เหมาะสมของชุมชน พร้อม
                  กับทบทวนยกเลิกโครงการที่จะท าลายหรือแย่งชิงฐานทรัพยากรจากชุมชนท้องถิ่น

                           14.  กระจายอ านาจการบริหารจัดการพัฒนาสู่ท้องถิ่น โดยการพัฒนาระบบการจัดการร่วม
                  ระหว่างชุมชน ประชาสังคม รัฐในท้องถิ่น เพื่อท าหน้าที่ประสาน พัฒนา ขับเคลื่อนนโยบายระดับท้องถิ่น
                           15.  ปรับทิศทางโครงสร้างการเกษตรของไทย ให้ลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ พร้อมกับ
                  ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร การผลิตขนาดเล็กที่ยั่งยืน ตอบโจทย์ท้องถิ่น โดยไม่ปล่อยให้ธุรกิจรายใหญ่ผูกขาด




                                                                                                       66
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86