Page 80 - b28783_Fulltext
P. 80
1. รัฐต้องเร่งสนับสนุนงบประมาณเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนอย่าง
เร่งด่วนอย่างถ้วนหน้า โดยเปลี่ยนจากวิธีที่ให้ประชาชนมาลงทะเบียน มาเป็นการที่รัฐใช้ระบบฐานข้อมูล
ประชาชนที่มีอยู่ และสนับสนุนงบประมาณไปโดยตรง โดยสนับสนุนในรูปกองทุนให้ชุมชนท้องถิ่น
ด าเนินการจัดการของตนเอง
2. รัฐสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการให้กองทุนแก่ชุมชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม โดยให้มีคณะที่ปรึกษาพหุภาคีในระดับจังหวัดคอยให้การสนับสนุนตลอดกระบวนการห่วงโซ่ทาง
เศรษฐกิจ
3. รัฐควรส่งเสริมสร้างแรงจูงใจและระบบสนับสนุนให้แรงงานที่ตกงานกลับไปพัฒนาเศรษฐกิจ
ชุมชน โดยเป็นระบบที่มีความมั่นคงและเติบโตได้ยั่งยืน
4. รัฐเร่งก าหนดนโยบาย ต้องมุ่งสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมที่ส าคัญ คือ ระบบการฟื้นฟู
นิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความมั่นคงอาหาร ระบบสุขภาพถ้วนหน้า ระบบสวัสดิการสังคม
5. รัฐควรต้องเร่งส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบการเงินชุมชน ให้ชุมชนบริหารการเงินอย่าง
เข้มแข็งและเป็นอิสระ โดยปรับกลไกตามพรบ.สถาบันการเงินประชาชน มาสนับสนุนความเข้มแข็งของ
ชุมชนอย่างจริงจัง
6. รัฐควรเร่งปฏิรูปนโยบาย และกฎหมายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะ
กฎหมายป่าไม้ เช่น พรบ.ป่าชุมชน พรบ.อุทยานแห่งชาติ และพรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ที่ยังปิดกั้น
สิทธิชุมชนในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรป่า โดยให้ชุมชนสามารถจัดการทรัพยากรทั้งเพื่อยังชีพ สร้าง
ความมั่นคงอาหารและรายได้อย่างยั่งยืน
7. รัฐควรเร่งคุ้มครอง ฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรอาหารที่ส าคัญ ทั้งการออกมาตรการคุ้มครอง
และการยกเลิกโครงการที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและฐานทรัพยากรของชุมชน
8. รัฐควรเร่งรัดออกพรบ.เกษตรกรรมยั่งยืน โดยให้มีระบบสนับสนุนการท าเกษตรกรรมยั่งยืน
ของเกษตรกรรายย่อยอย่างครบวงจร ทั้งกองทุน ความรู้ ทรัพยากรการผลิต การจัดการพันธุ์ ตลาด และ
เชื่อมต่อกับผู้บริโภค
9. รัฐควรมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยสนับสนุนด้าน
การโครงสร้างพื้นฐาน จัดการข้อมูลข่าวสาร การจัดระบบพื้นที่ การสื่อสาร และอื่นๆ
10. รัฐควรประกาศนโยบายที่ชัดเจนให้เอาพื้นที่สาธารณะของรัฐ รวมถึงเช่าพื้นที่เอกชนที่ไม่ได้ใช้
ประโยชน์เต็มที่ มาให้ประชาชนคนยากจนได้ใช้เพาะปลูกสร้างความมั่นคงอาหาร
11. รัฐควรออกนโยบาย กฎหมายธนาคารต้นไม้ เพื่อรองรับสนับสนุนให้ต้นไม้ที่ประชาชนปลูก
ดูแลเป็นทรัพย์สินของประชาชน เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
12. รัฐควรมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้วิจัยชุมชน เพื่อวางแผนการเปลี่ยนผ่าน
จากความเปราะบางสู่ความเข้มแข็งที่ยั่งยืนตามวิถีและบริบทของชุมชนที่หลากหลาย
5.10.1 ข้อเสนอเชิงมาตรการที่ภาครัฐ วิชาการ และประชาสังคมด าเนินการได้ทันที
1. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนอย่างเท่าทันสถานการณ์ โดยสามารถจ าแนกแยกแยะชุมชน
แบบต่างๆ ทั้งชุมชนท้องถิ่นที่มีฐานทรัพยากร ฐานการผลิต ความมั่นคงอาหาร กับชุมชนหรือกลุ่มทาง
สังคมที่อยู่ในภาคแรงงาน บริการ กลุ่มที่พึ่งพาตลาด เทคโนโลยี โดยระบบฐานข้อมูลดังกล่าวนี้ควร
ออกแบบให้ชุมชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุน
จากภาครัฐและสังคม
65