Page 74 - b28783_Fulltext
P. 74

มหาสารคาม สะท้อนว่า ลูกหลานของชุมชน 20% ออกไปท างานตามเมืองใหญ่ๆ กลุ่มนี้มักสุญ
                  เสียงานที่ท าและกลับบ้านได้แล้ว ส่วนอีก 15% อยู่ต่างประเทศ และยังท างานได้อยู่ ชุมชนไม่ให้ลูกหลานที่

                  ท างานหรือเรียนอยู่ในเมืองกลับบ้านเพราะกลัวการกระจายของโรค แต่จะส่งความช่วยเหลือไปให้ เมื่อได้
                  กลับมาแล้วก็น าเงินที่ได้จากการเลิกจ้างและความรู้ทางธุรกิจจากการท างานกับบริษัทมาท าการเกษตรใน
                  พื้นที่บ้าง ขายสินค้าโอท้อปบ้าง
                           ชุมชนริมโขง การออกไปท างานรับจ้างเกิดขึ้นตั้งแต่แม่น้ าโขงมีปัญหา แต่แรงงานก็ไม่ได้กลับ

                  เพราะถูกกักตัวและคิดว่าสถานการณ์คงอยู่ไม่นาน และรอกลับไปท างาน
                           ชุมชน ฉะเชิงเทราสะท้อนว่า กลุ่มที่ไม่ได้กลับมาเพราะถูกกักตัวก็ปรับตัวด้วยการขายของ
                  ออนไลน์ และติดต่อมาขอหรือยืมเงิน แต่ก็ไม่มากนัก กลุ่มที่ได้กลับบ้านมักจะอยู่ในภาคบริการ แต่ก็ไม่
                  ได้มาช่วยท าเกษตรเพราะไม่คุ้นเคย แค่กลับมาเพื่อรองานใหม่ กลุ่มที่อยู่ใกล้ภูมิล าเนาเดิมอยู่แล้ว พวกนี้

                  ส่งเสริมงานทางภาคเกษตรให้ได้
                           ชุมชนภูเก็ต-พังงา มีทั้งลูกหลานที่ท างานในเมือง และแรงงานต่างถิ่นที่มาท างานในภูเก็ต เผชิญ
                  ปัญหาเมื่อรัฐออกมาตรการกักกันโรค ลูกหลานกลับบ้านไม่ได้ พ่อแม่ต้องส่งอาหารไปให้ เมื่อผ่อนคลาย
                  มาตรการกลับบ้านได้ กลับไปอยู่กับพ่อแม่เป็นภาระปากท้อง ปรับตัวด้วยการหาปลามากินในครัวเรือน

                  แรงงานภาคการท่องเที่ยว โรงแรมไม่มีคนพัก พนักงานโรงแรมต้องออกจากงานโดยไม่ได้รับชดเชย ปรับตัว
                  โดยการปลูกข้าวแต่ยังไม่ค่อยได้ผล ส่วนมากกลับมารองานในเมือง
                           สรุปโดยภาพรวม แรงงานส่วนใหญ่ไม่กลับบ้าน เพราะไม่เห็นว่าอนาคตทางเศรษฐกิจการเกษตร

                  ในชุมชน ไม่มีความรู้ ทักษะการเกษตร จึงรอคอยงานในเมืองว่าจะกลับมา แรงงานเหล่านี้ปรับตัวหางาน
                  ใหม่ อาชีพไปพลาง และได้รับการสนับสนุนอาหาร และรายได้จากชุมชน ซึ่งปรกติ แรงงานก็ไม่ค่อยมีเงิน
                  ส่งกลับบ้าน ในภาวะนี้จึงต้องอาศัยการสนับสนุนจากชุมชน สภาวะเช่นนี้ สะท้อนได้ว่า แนวคิดที่จะให้
                  แรงงานกลับไปท าเกษตรอย่างถาวรกับชุมชนยังเป็นไปได้ยาก ยกเว้นแรงงานตามฤดูกาลที่กลับมาท า
                  เกษตรในบางช่วงอยู่แล้ว


                        5.4 สถานภาพและบทบาทฐานทรัพยากรธรรมชาติต่อความมั่นคงชุมชนใน

                            ภาวะโควิด-19

                           ในยามที่ประสบปัญหารายได้ลดลง ชุมชนต้องเพิ่มการพึ่งพาอาหารจากฐานทรัพยากรธรรมชาติ
                  มากยิ่งขึ้น ชุมชนน่านและฉะเชิงเทราก็พึ่งพาพืชผัก อาหาร จากสวน และป่าชุมชนเพิ่มขึ้น ชุมชนริมโขง
                  และน้ าชีก็อาศัยปลาจากน้ าโขงและตามทาม บุ่ง หนอง ที่อนุรักษ์ไว้ ชุมชนฉะเชิงเทรา เช่นเดียวกับชุมชน

                  ชายฝั่งทะเลภูเก็ตพังงา ก็กลับสู่ทะเลเป็นฐานรับรอง
                           การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เกิดขึ้นกับกลุ่มที่มีทักษะ (หาปลา ของป่า ฯลฯ) และน ามา
                  จัดสรรในชุมชน ชุมชนที่มีฐานการฟื้นฟู ดูแลทรัพยากรอยู่แล้ว เช่น ป่าชุมชน ชายฝั่ง อนุรักษ์พันธุ์ปลา
                  จัดการน้ า ฯลฯ จะมีฐานนิเวศให้พึ่งพิงมากกว่าชุมชนที่ไม่มีฐานทรัพยากร
                           ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากร เช่น พืชพาณิชย์กับการใช้ที่ดิน เขื่อนกั้นแม่น้ า ธุรกิจรุก

                  ทรัพยากร นโยบายกีดกันชุมชนต่อทรัพยากร กระทบต่อฐานทรัพยากร ท าให้การพึ่งพาทรัพยากรของ
                  ชุมชนเป็นเพียงบางชุมชน บางด้าน


                        5.5 การตั้งรับ ปรับตัว



                                                                                                       59
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79