Page 73 - b28783_Fulltext
P. 73

5.2 ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

                           เรามาพิจารณาในแต่ละกรณี ชุมชนน่าน รายได้ลดลงกว่า 60% พ่อค้าเข้ามารับซื้อผลไม้ไม่ได้ แม้
                  ภายหลังผ่อนคลายขายผลผลิต แต่ราคาลดลงกว่าครึ่ง ผลกระทบต่อความมั่นคงอาหารไม่มากนัก แต่

                  กระทบรายได้ที่เป็นตัวเงิน เช่นค่าแรง
                           ชุมชนมหาสารคาม เป็นช่วงที่ยังไม่เก็บเกี่ยวพอดีเลยไม่ค่อยเดือดร้อน ส่วนปลาเลี้ยงไม่ได้แล้ว
                  เพราะภัยแล้งยังไม่มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน เพราะคนท้องถิ่นท างานกันเองทั้งหมดจึงไม่ล าบาก

                           ชุมชนริมน้ าโขง  ยังพออยู่พอกินได้ ไม่เดือดร้อนปากท้องมากนัก แต่รายได้หดหายมาก
                  โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวรายได้ลดลง ตามปกติหาปลาในโขง ท าปลาร้าขายนักท่องเที่ยว แต่พอมีโควิดก็
                  ขายไม่ได้ เดือดร้อนแรงงานเพราะแรงงานลาวที่จ้างวันละ 200 บาทเดินทางไม่ได้ ต้องจ้างคนไทยวันละ
                  300 บาทบวกค่าอาหารท าให้ต้นทุนเพิ่ม
                           ชุมชนฉะเชิงเทรา การไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันท าให้เกิดผลกระทบกับเศรษฐกิจและวิถีชุมชน

                  ไม่มีการจ้างงาน นาข้าวไม่ได้รับผลกระทบ แต่ยางพาราและผักผลไม้ราคาตก ผักผลไม้ขายไม่ได้เพราะ
                  พ่อค้าเข้าพื้นที่ไม่ได้ ราคาอาหารไม่ได้ขึ้นมากมายจนเดือดร้อน
                           ชุมชนภูเก็ต-พังงา กลุ่มประมงกลับมาท าประมงเพราะไม่มีการท่องเที่ยว เกิดหนี้ก้อนโต จากการ

                  ลงทุนเพื่อเตรียมรับ High Season เช่นซื้อรถตู้ แต่พอเกิดโควิดก็ท าให้เป็นหนี้สินก้อนโต แม้แต่เจ้าหนี้นอก
                  ระบบที่ตามปกติแล้วจะร่ ารวยก็ล าบากเพราะคนไม่กล้ากู้ กลัวจะช าระคืนไม่ได้ ชาวสวนขายผลผลิตไม่ได้
                  จึงหันมาท าประมงเพื่อกินเองบ้าง ขายถูกๆบ้าง
                           ชุมชนสงขลา ชาวบ้านต้องแยกระยะห่างกันมากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เศรษฐกิจแย่แต่ไม่

                  ถึงกับอดอยาก พอมีกินอยู่ได้ในระยะสั้นๆ เกษตรกรที่ปลูกพืชเพื่อการค้ามากกว่าไว้บริโภคเอง ถ้าชุมชน
                  ไหนมีฐานออมทรัพย์หรือตลาดชุมชนจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า ผลผลผลิตข้าวไม่กระทบเพราะไม่ตรง
                  ฤดูกาล น้ าตาลไม่กระทบเพราะเป็นตลาด niche ผักราคาดีขึ้นเพราะผลผลิตออกน้อย ชาวสวนมะม่วงและ
                  ประมงล าบากเพราะราคาตกเพราะไม่มีตลาด ต้นทุนการผลิตอย่างราคาเมล็ดพันธ์ ปุ๋ย และสารเคมีเพิ่ม

                  สูงขึ้น แต่ได้รับผลกระทบน้อยเพราะต้องลดการผลิต
                           โดยภาพรวม แม้ผลกระทบโควิดต่อภาคเกษตรจะไม่รุนแรงเท่ากับภาคอื่น ๆ (บริการ
                  อุตสาหกรรม) แต่มีลักษณะซ้ าเติมผลกระทบเดิมที่เกษตรกรย่ าแย่อยู่แล้วให้รุนแรงขึ้น
                           ชุมชนไม่ได้มีปัญหาเรื่องความมั่นคงอาหารในครัวเรือนมากนัก เพราะยังเข้าถึง

                  ทรัพยากรธรรมชาติ มีระบบอาหารในครัวเรือน ผลิตเพื่อบริโภคบางส่วน แต่ปัญหาใหญ่อยู่ที่เศรษฐกิจ
                  รายได้ที่ลด รายจ่ายที่เพิ่ม ผู้วิจัยพบปัญหาหนี้สินที่มากขึ้น แม้หลายชุมชนจะไม่พยายามกู้เพิ่ม เป็นทั้งหนี้
                  ในระบบกับ ธกส. และหนี้นอกระบบ (โดยเฉพาะชาวบ้านที่ยากจนบางราย) ภาวะหนี้สินยังกระทบไปถึง
                  ระบบการเงินของชุมชน บางชุมชนเช่นจังหวัดน่าน ระบบออมทรัพย์ที่เคยเข้มแข็งก าลังเผชิญวิกฤติ มีการ

                  ผ่อนผันหนี้สิน คนกู้เงินไปจ่ายหนี้นอกระบบ กับนายทุนข้าวโพด การผลิตบางประเภท เช่น ข้าว ข้าวโพด
                  ยังไม่ถึงรอบการขาย ดังนั้นผลกระทบจากราคา และตลาดจะเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่ชุมชนยังคาดไม่ได้
                        5.3 ภาวะย้อนแย้งของแรงงานตกงาน กลับบ้านหรืออยู่ต่อ

                           น่าน ส่วนใหญ่ไม่ถูกเลิกจ้าง เพียงแค่รายได้ลดลง ส่งเงินกลับบ้านได้น้อยลง ส่วนกลุ่มที่กลับมา
                  เนื่องจากไม่มีความต้องการแรงงานในพื้นที่ ลูกหลานที่กลับมาจากตัวเมืองจึงต้องออกไปรับจ้างที่อื่น เมื่อไม่

                  มีงานรับจ้าง พ่อและแม่จึงต้องกู้หนี้มาใช้จ่ายกันในครัวเรือน ท าให้สมาชิกการเงินชุมชนลาออกไปถึง 1 ใน
                  3

                                                                                                       58
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78