Page 72 - b28783_Fulltext
P. 72
บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
5.1 วิกฤติที่ชุมชนท้องถิ่นเผชิญก่อนโควิด
จากการศึกษา 6 กรณีศึกษา ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ เผชิญปัญหา ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม
ฐานทรัพยากร ความไม่มั่นคงอาหารมาต่อเนื่องมาก่อนเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโควิด ท าให้ชุมชนมีความ
เปราะบางเป็นพื้นฐาน เช่น ชุมชนน่าน เจอปัญหาความไม่มั่นคงสิทธิในที่ท ากินและฐานทรัพยากร เพราะ
นโยบายป่าไม้ ความผันผวนทางเศรษฐกิจของพืชข้าวโพด ชุมชนริมน้ าโขง เผชิญปัญหาน้ าโขงผันผวน
เหือดแห้งจากเขื่อนจีน ลาวมาเกือบสิบปี ฐานทรัพยากรอาหารและรายได้ลดไปกว่าครึ่ง ชุมชนชาวนาน้ าชี
มหาสารคาม เจอภัยแล้งมา 3 ปี (แม้อยู่ติดริมน้ าชี) จากท านาปีและนาปรัง เหลือแค่ท านาปี ชุมชนชาวไร่
และป่าไม้ ฉะเชิงเทรา พืชไร่ (ยาง ปาล์ม มัน) ราคาตกต่ าต่อเนื่อง เจอปัญหาแล้ง การเข้าถึงทรัพยากรจาก
ป่าถูกจ ากัด ชุมชนชาวนา สวน และประมงสทิงพระ สงขลา ก็เผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ า จากศูนย์กลาง
เศรษฐกิจที่หาดใหญ่ (ผลกระทบจากความไม่สงบชายแดน) และธุรกิจท่องเที่ยวภูเก็ตตกต่ า ชุมชนชายฝั่ง
ทะเลภูเก็ต พังงา พึ่งพาฐานทรัพยากรทะเล ท าเกษตร และท่องเที่ยว ต้องเผชิญการรุกคืบ ปิดล้อม
ทรัพยากร ราคาพืชผลตกต่ า และการท่องเที่ยวตกต่ ามาตั้งแต่ปี 57 สรุปได้ว่า ชุมชนท้องถิ่นเผชิญวิกฤติ
โครงสร้างทั้งเรื่องเข้าถึงฐานทรัพยากร ความผันผวนของนิเวศ เศรษฐกิจตลาดตกต่ า มาต่อเนื่องก่อนเผชิญ
โควิด
5.1.1 สภาวะโควิดด้านสุขภาพ
ชุมชนทุกแห่ง มีภาวะตื่นกลัวต่อโควิดอย่างมากจากกระแสข่าว มาตรการทางสังคมด าเนินการ
อย่างเคร่งครัด ป้องกันไม่ให้คนกลับบ้าน มีการรายงานตัว กักตัว ไม่ออกจากบ้าน ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมใน
ชีวิตประจ าวัน ในงานประเพณี ในการท ามาหากินลดลงอย่างรวดเร็ว
วิกฤติโควิดในสายตาของชาวบ้าน เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือคาดคิด และมองว่าผลกระทบมากไป
กว่าวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ที่ชุมชนไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
ผลกระทบโควิด เป็นทั้งสร้างปัญหาท าให้วิถีชีวิต วิถีการผลิต วิถีเศรษฐกิจหยุดชะงัก และท าให้
ปัญหาโครงสร้างเดิมรุนแรงขึ้น
ระบบการจัดการของชุมชนที่ส าคัญคือ ระบบ อสม.ร่วมชุมชน ผู้ใหญ่บ้านมีความเข้มแข็ง
สามารถเตือนภัย ติดตาม และรับมือกับความเสี่ยงได้ดี ชุมชนตื่นและตระหนักต่อโรคระบาดโควิด มี
มาตรการป้องกัน ควบคุมทั้งทางการและทางสังคมที่เข้มงวด (น่าจะมากกว่าคนในเมือง) การด าเนินการ
ของชุมชน ขับเคลื่อนด้วยพลังของชุมชน การสนับสนุนของภาครัฐยังไม่ชัดเจน งบประมาณที่ให้ไม่เพียงพอ
หมู่บ้านต้องจัดการพึ่งตนเองเป็นหลัก
57