Page 68 - b28783_Fulltext
P. 68

4.3.3 ผลกระทบฐานทรัพยากรธรรมชาติ
                            ขอเน้นเฉพาะชุมชนที่พึ่งพาฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างเด่นชัด ได้แก่ ชุมชนน่าน ชุมชนแม่น้ า

                  โขง ชุมชนฉะเชิงเทรา และชุมชนภูเก็ต
                            ชุมชนน่าน หลายชุมชนมีป่าชุมชน และมีสายน้ ายาว (ต้นน้ าน่าน) ฐานทรัพยากรของพวกเขา
                  เป็นแหล่งบริการอาหารส าคัญ ได้แก่ สมุนไพร เห็ดถอบ หน่อไม้ ปลา แต่ก็ไม่มากพอที่จะน ามาเป็นอาชีพ
                  ได้ เพราะเป็นไปตามฤดูกาล ชาวบ้านยังได้ทรัพยากรอาหาร เพื่อลดรายจ่ายได้ ดังเช่น ต าบลเปือมีน้ าผึ้ง

                  เป็นส่วนใหญ่ แต่ปริมาณไม่แน่นอน ท าเป็นอุตสาหกรรมไม่ได้
                           ช่วงวิกฤติโควิด ผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรในพื้นที่นั้นยังไม่มี ในสันติสุข มีป่าชุมชนและวัง
                  ปลาเป็นทรัพยากรส าคัญ ให้คนที่กลับมาเพราะสูญเสียงานประจ าไว้หาอาหารกินได้ พื้นที่เช่นนี้สามารถ
                  พัฒนาผลผลิตให้สูงขึ้นได้ โดยการเติมเชื้อเห็ดเข้าไปในป่า และย้ายปลา กุ้งฝอย หอยขมไปไว้ในบ่อให้

                  ชาวบ้าน เป็นต้น แต่จะต้องแก้ไขประเด็นเรื่องพื้นที่อุทยานในบางพื้นที่ ที่ต้องเข้าไปตามสิทธิในที่ดินของตน
                  ที่อยู่ใกล้หรืออยู่ในพื้นที่อุทยาน เพราะหากไม่ได้ขึ้นทะเบียน ก็เข้าไปหากินในป่าชุมชนไม่ได้
                           ความเป็นไปได้อื่น ๆ : น าเที่ยวพื้นที่เชิงอนุรักษ์ ดึงเงินนักท่องเที่ยวออกมาจากจุดท่องเที่ยว เพื่อ
                  กระจายไปให้ทั่วถึง และลดค่าขนส่งโดยน าผู้ซื้อเข้ามาในพื้นที่

                            ชุมชนแม่น้ าโขง ผลกระทบต่อฐานทรัพยากรในลุ่มน้ าโขงไม่ได้มาจากวิถีชีวิตชาวบ้าน แต่มาจาก
                  การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ าโขงตอนบนในประเทศจีนและลาว โดยเขื่อนแบ่งแม่น้ าโขงเป็นท่อนๆ ท าให้หยุด
                  ไหล ไหลช้าเป็นช่วงๆ และก็จะมีอ่างเก็บน้ าเป็นท่อน ๆ เป็นอุปสรรคต่อการไหล และท าลายระบบนิเวศน์

                  ท าให้ความหลากหลายของพันธ์ปลาในน้ าโขงเป็นอันดับสองของโลกรองจากแม่น้ าอเมซอน เมื่อน้ าไหลช้า
                  ลงท าให้ปลาไม่อพยพไปวางไข่ โดยเฉพาะผลกระทบจะเกิดมากแถวปลายน้ า ดังนั้นฝั่งจีนจึงไม่ล าบากเท่า
                  ไทยและเขมรเรื่องรายได้จากการประมง โดยเฉพาะปลาสีขาวจะหายไปมากกว่าปลาสีด า และกระทบกับ
                  ปลาน้ าไหลมากกว่าปลาน้ านิ่ง (ปลาเขื่อน) และท าให้ป่าบุ่งป่าทามกลางแม่น้ าหายไปเพราะน้ าท่วม แหล่ง
                  อนุบาลลูกปลาและหอยต่างๆที่จะมาเป็นอาหารปลาก็จะไม่มี

                            ผลจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรแม่น้ าโขงที่มีมาก่อนโควิด ท าให้เมื่อเกิดภาวะโควิด ชุมชน
                  พึ่งพิงฐานทรัพยากรแม่น้ าโขงได้ไม่มากนัก ส่งผลต่อความมั่นคงอาหารและการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน
                            ชุมชนฉะเชิงเทรา ซึ่งมีป่าครอบครัวและป่าชุมชน ในภาวะโควิด ชาวบ้านเก็บเห็ดกันมากกว่า

                  ปกติ เพราะเห็ดขึ้นชุกชุม (เพราะอากาศร้อนผิดปกติ) ตกปลามากขึ้น แต่ยังไม่ถึงกับท าลายทรัพยากร
                  เพราะเก็บกันทุกปีอยู่แล้ว ไม่จ าเป็นต้องตั้งกฎห้าม และเมื่อเชื่อมโยงกับแรงงานที่กลับบ้าน ก็ไม่ได้มีผลต่อ
                  การใช้ยาฆ่าแมลง เพราะไม่ได้เพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยส าคัญ อีกทั้งแรงงานก็ไม่ได้กลับมาท าการผลิตหรือใช้
                  ทรัพยากรโดยตรง นอกจากนี้ชุมชนป่ารอยต่อ ยังต้องเผชิญปัญหาช้างป่าที่เข้ามาในป่าชุมชนและบุกมากิน

                  พืชผล ท าให้ชาวบ้านไม่กล้าที่จะเข้าไปใช้ทรัพยากรในป่า
                            ชุมชนพังงา-ภูเก็ต พวกเขาพึ่งพาฐานทรัพยากรชายฝั่งตลอดมาทั้งการหาอยู่หากิน และเป็น
                  รายได้ ในภาวะโควิดที่ธุรกิจการท่องเที่ยว และตลาดอาหารทะเลถูกปิดตัวลง ชาวบ้านไม่สามารถขายปู
                  ปลาได้มากนัก ราคาสัตว์ทะเลที่เคยสูงก็ตกฮวบอย่างรวดเร็ว เมื่อจับขายไม่ได้ และชาวบ้านขาดรายได้ทาง

                  อื่น ทะเลยังเป็นที่มั่นของความมั่นคงอาหารของพวกเขา จึงเกิดปรากฏการณ์ที่ชาวบ้านหลายรายที่เคยเลิก
                  จับสัตว์น้ าไปแล้ว หันกลับลงไปหาปูปลามากขึ้นเพื่อบริโภค สัตว์น้ าหลายชนิดที่เคยมีราคาสูง ชาวบ้านไม่
                  สามารถบริโภคได้ แต่ในเวลานี้ชาวบ้านสามารถบริโภคได้







                                                                                                       53
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73