Page 63 - b28783_Fulltext
P. 63
นอกจากนี้กลุ่มสินค้าที่ราคาดีช่วงโควิดได้แก่เนื้อสัตว์โดยเฉพาะหมู เกษตรกรกลุ่มนี้ก็จะอยู่ได้
นานกว่าในภาวะวิกฤติ แต่ไม่มีคนหันมาเลี้ยงเพิ่ม เพราะขาดแม่พันธุ์ มีแต่บริษัทใหญ่ๆเท่านั้นที่จะท าได้
ในภาวะก่อนโควิด ชาวบ้านก็มีหนี้สินเดิม : ประมาณห้าแสนบาทต่อครัวเรือน (เปือ) สองแสน
(สระแก้ว) แสนสองจาก ธกส.และหนี้นอกระบบ (สันติสุข) (เนื่องเพราะปลูกพืชที่มีต้นทุนการผลิตต่ า
กว่าเปือและสระแก้ว) มีสาเหตุจากธนาคารออมสินกับธกส.ออกโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ าก่อนวิกฤติโควิด ผนวก
กับหนี้เก่าคือกองทุนหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงมีหนี้สินติดตัวมาก่อนแล้ว แต่ช่วงนี้ยังพอประคองไปได้ แต่เมื่อถึง
ก าหนดช าระในเดือนตุลาคมอาจจะประสบความยากล าบาก เพราะถึงแม้ว่าธกส.จะเสนอการพักช าระหนี้
ให้ และชาวบ้านพอจะเจรจาหนี้กับกลุ่มออมทรัพย์/การเงินชุมชน/สวัสดิการได้ก็ตาม แต่ชาวบ้านก็มักมี
พฤติกรรมต้องการช าระหนี้นอกระบบ (จากเจ้าของธุรกิจข้าวโพดรายใหญ่ที่น าเงินธกส.มาปล่อยให้กู้ด้วย)
และหนี้สถาบันการเงินก่อน ตามล าดับ ท าให้เม็ดเงินชุมชนไหลไปอยู่ที่เจ้าหนี้นอกระบบหมด (สาเหตุจาก
สมาชิกชุมชนไม่สนใจที่จะจดทะเบียนการเงินชุมชน ไม่อยากเข้าระบบเพราะจะมีกฎกติกามากมายยุ่งยาก
เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องหากท าผิดพลาดโดยไม่เจตนา จุดอ่อนของกองทุนสวัสดิการคือไม่สามารถเข้าถึงผู้
ได้รับผลกระทบ และผู้ได้รับผลกระทบก็ไม่สนใจสมัครเป็นสมาชิก)
ส าหรับลูกในหลายที่ไปท างานในเมือง ส่วนหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างก็กลับมาบ้าน รับเหมาบ้าง รับจ้าง
บ้าง และมีอีกส่วนที่กลับมาไม่ได้เพราะถูกกักกันโรค แต่ส่วนใหญ่ไม่ถูกเลิกจ้าง เพียงแค่รายได้ลดลง ส่งเงิน
กลับบ้านได้น้อยลง ทางบ้านก็ช่วยโดยส่งอาหารแห้งไปให้ทางออนไลน์ ท าให้เรียนรู้วิธีขายผลผลิตทาง
ออนไลน์ไปด้วย แต่ถ้าเกิดการระบาดรอบสองคงจะล าบาก และไม่คิดกลับบ้าน เพราะจะยิ่งกลับมาตกงาน
เพราะจ านวนนายจ้างในพื้นที่มีน้อย จ านวนลูกหลานที่ออกไปหางานท าในเมืองจะขึ้นอยู่กับความมั่นคง
ของงานท้องถิ่นด้วย ถ้าพื้นที่ใดไม่มีงานท้องถิ่น ลูกหลานก็ต้องออกมาท างานข้างนอกมากขึ้น
ชุมชนมหาสารคาม ฐานเศรษฐกิจท านา ปลูกพืช หาปลา ไม่เดือดร้อนเรื่องอาหารการกิน แม้ใน
ภาวะวิกฤติโควิดชุมชนนี้ไม่มีรถกับข้าวเข้ามา ต้องขับรถไปซื้อที่โลตัส บิ๊กซี ซึ่งห่างออกไป 18 กิโล (ยัง
สามารถเดินทางได้อยู่) ผสมผสานกับการปลูกผักเช่นหอม คะน้ากินเองเล็กๆน้อยๆ ก็สามารถด ารงชีพได้
ในเรื่องการขายสินค้าการเกษตร ช่วงการระบาดของโควิด 19 เป็นช่วงที่ยังไม่เก็บเกี่ยวพอดีเลย
ไม่ค่อยเดือดร้อน ส่วนปลาเลี้ยงไม่ได้แล้วเพราะภัยแล้ง รวมถึงบริษัทที่จ้างเลี้ยงไม่รับซื้อคืนช่วงที่ตลาดปิด
เพราะวิกฤตโควิด 19 ระบาด (การเลี้ยงปลาในกระชังจะเป็นการพาตนเองเข้าไปเป็นหนี้บริษัทนายจ้างใน
ที่สุด จึงไม่นิยม)
ส่วนเรื่องแรงงาน ยังไม่มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน เพราะคนท้องถิ่นท างานกันเองทั้งหมดจึงไม่
ล าบาก
ชุมชนริมน้ าโขง ตั้งแต่หนองคายมาถึงอุบลราชธานี ชุมชนพึ่งพาระบบนิเวศอาหารจากปลา
ธรรมชาติในแม่น้ าโขงลดลงอย่างรวดเร็วมาก่อนหน้านี้จากปัญหาเขื่อนในจีนและลาว เกิดท่วมหน้าแล้ง
แห้งหน้าฝน ปลาขึ้นผิดฤดูกาล น้ าใส ท าให้สาหร่ายขึ้นมาก เป็นอุปสรรคต่อการจับปลา พอถึงหน้าแล้งปี
63 แม่น้ าโขงแห้งมาก ปลาบางชนิดมากผิดปกติ และเมื่อเผชิญกับภาวะโควิดที่กระทบต่อการกระจาย
ผลผลิตปลาและพืชผักของชุมชน แต่กระนั้นหลายชุมชนเช่น บ้านผาชัน บ้านส าโรง ได้ประโยชน์เนื่องจาก
ปลาขึ้นมาก ท าให้ราคาถูก เพื่อท าปลาร้าได้ ปัญหาจึงอยู่ที่หาปลาได้ แต่ไม่มีคนรับซื้อท าให้ขาดรายได้
เมื่อดูจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2563
เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ต้องหยุดกิจกรรมส าคัญๆ ที่สร้างรายได้ให้กับคนลุ่มน้ าอย่างมาก
อาทิ กิจกรรมการผลิตพืชผักริมโขงในห้วงหน้าแล้ง ที่ปกติมีการปลูกพืชเพื่อส่งขายตลาดในและนอกชุมชน
เวลาน้ าลด การหาปลายามค่ าคืน มาตรการการของรัฐบาลในการควบคุมการระบาด เช่น การงดการ
48