Page 60 - b28783_Fulltext
P. 60

กล่าวโดยสรุปแล้ว ชุมชนต่าง ๆ  มีฐานความมั่นคงอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติเป็นทุนเดิม แต่
                  มีระบบการผลิตเพื่อความมั่นคงอาหารด้วย แต่สถานการณ์ฐานทรัพยากรอาหารถดถอยต่อเนื่องจาก

                  กิจกรรมทางเศรษฐกิจ โครงการและนโยบายของรัฐและต่างประเทศ (กรณีเขื่อนกั้นน้ าโขงของจีนและลาว)
                  จากสภาวะโลกร้อนที่ท าให้เกิดภาวะแล้ง และที่ส าคัญคือการสภาวะเศรษฐกิจ

                           4.2.2 ฐานเศรษฐกิจ

                            กลุ่มชุมชนที่ศึกษาทุกกลุ่มล้วนมีฐานเศรษฐกิจหลายฐาน ทรัพยากรธรรมชาติไม่เพียงเป็นแหล่ง
                  ความมั่นคงอาหาร ยังเป็นฐานเศรษฐกิจเพื่อยังชีพและการค้า ชุมชนประมงริมน้ าโขงเช่นบ้านสองคอน
                  อ าเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เคยได้รายได้จากการจับปลาครัวเรือนละ 40,000-50,000 บาทต่อปี
                  แต่ผลกระทบจากเขื่อนน้ าโขงท าให้รายได้ลดไปกว่าร้อยละ 80 บางบ้านที่เคยได้รายได้จากเรือท่องเที่ยวน้ า

                  โขงจาก 2,600 เที่ยวต่อปีก็ลดเหลือ 700 เที่ยว หรือหายไปร้อยละ 70 ปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดตั้งแต่ปี
                  2554 ก่อนวิกฤติโควิด
                            ชุมชนที่จังหวัดน่านที่ต้องพึ่งพากับพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ต้องเผชิญปัญหา
                  ทั้งราคาข้าวโพดตกต่ า ปัญหาการใช้ที่ดิน และภาวะขาดแคลนน้ า ท าให้เศรษฐกิจตกต่ าต่อเนื่อง ชาวบ้าน

                  ขาดเงินลงทุนท าข้าวโพดต่อท าให้พื้นที่ปลูกข้าวโพดลงลงตั้งแต่ปี 2557 ตัวชี้วัดส าคัญของเศรษฐกิจตกต่ า
                  คือ หนี้สินของเกษตรกร ที่ปัจจุบันก่อนช่วงโควิดมีหนี้สินครัวเรือนสูงถึง 2-5 แสนบาท ชาวบ้านเป็นหนี้
                  ตั้งแต่กองทุนหมู่บ้าน ธกส. ธนาคารออมสิน และหนี้นอกระบบกับเจ้าหนี้ท้องถิ่นที่ปล่อยเงินกู้เรื่องข้าวโพด

                  ชุมชนน่านแม้มีฐานทรัพยากร แต่กลับเผชิญความเปราะบางทางเศรษฐกิจไม่น้อย
                            ส าหรบชุมชนริมน้ าโขง ฐานเศรษฐกิจหลักของพวกเขาอยู่ที่ความสมบูรณ์ของแม่น้ าโขงและ
                  แม่น้ าสาขาย่อย ทั้งรายได้จากการท าประมง รายได้จากการปลูกพืชผักริมฝั่งแม่น้ า และรายได้จากการ
                  ท่องเที่ยว ชาวบ้านเผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ ามาตั้งแต่ต้นปี 2551 จากความผิดปรกติของแม่น้ าโขงที่มี
                  สาเหตุจากการสร้างเขื่อนในประเทศจีนและลาว ท าให้จ านวนและชนิดปลาลดลงอย่างรวดเร็ว และยัง

                  กระทบไปถึงพืชผักริมตลิ่งที่ถูกน้ าท่วม แม้แต่รายได้จากการท่องเที่ยวก็ไม่แน่นอน เพราะแม่น้ าโขงบางช่วง
                  ก็น้ าท่วมสูงจนไม่เห็นทัศนียภาพเกาะแก่ง และบางช่วงก็แล้งไม่สะดวกเดินเรือ
                            ชุมชนริมน้ าชีที่มหาสารคาม ท าการผลิตประกอบด้วยท านาปลูกข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว

                  ร้อยละ 85 อ้อยร้อยละ 10 และมันส าปะหลังร้อยละ 5 พวกเขาก็เผชิญเศรษฐกิจย่ าแย่จากภัยแล้ง นาปรัง
                  ที่เคยท าได้ก็ต้องหยุดไปเพราะแล้งมา 3 ปี ส่วนรายได้จากที่อ้อยและมันส าปะหลังก็ตกต่ า เป็นแรงกดดันให้
                  ชาวบ้านต้องเร่งหาอาชีพเสริม ชาวบ้านริเริ่มท าแปลงนารวมและธนาคารข้าว และท าเกษตรอินทรีย์ร้อยละ
                  30 แม้จะเจอปัญหาความแล้งและเศรษฐกิจตกต่ า กระบวนการปรับตัวทางเศรษฐกิจของชาวบ้านยังพออยู่

                  ได้
                            ส่วนชาวบ้านคลองตะเกรา ฉะเชิงเทรา เศรษฐกิจพวกเขาขึ้นกับพืชไร่หลัก เช่น ยางพารา มัน
                  ส าปะหลัง ปาล์ม และไม้ผล ผลผลิตของชาวบ้านไม่ค่อยดีนักเพราะแล้งต่อเนื่อง และราคาพืชผลก็ไม่สูง ท า
                  ให้รายได้ถดถอยกว่าเดิม ชาวบ้านยังเจอปัญหาช้างป่ารุกเข้ามากินพืชผลในไร่

                            ลงมาดูเศรษฐกิจของชุมชนสิงหนคร สงขลา โดยภาพรวมเศรษฐกิจของสงขลาตกต่ าลงจาก
                  ผลกระทบความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์กลางเศรษฐกิจหาดใหญ่เงียบเหงาซบเซามา 4-5
                  ปี แต่ส าหรับชาวสิงหนครซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรมท านา ท าสวน และประมงชายฝั่ง ฐานเศรษฐกิจของ
                  พวกเขาแม้เฟื่องฟู แต่ก็ยังพึ่งตนเองได้พอประมาณ สะท้อนจากกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชนที่ยังมีเงิน

                  หมุนเวียนนับสิบกว่าล้านบาท กล่าวโดยรวมแล้ว ชาวบ้านที่พึ่งพาการค้ากับภายนอกสูงเปราะบางในภาวะ


                                                                                                       45
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65