Page 55 - b28783_Fulltext
P. 55

นอกภาคเกษตร และพบว่า มีแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมกลับบ้านจ านวนไม่มากนัก (ร้อยละ 4.1) ซึ่ง
                  สะท้อนให้เห็นว่า รายได้ในมิติดังกล่าวนี้ไม่ได้หดหายไปอย่างสิ้นเชิง สมาชิกครัวเรือนเหล่านี้ยังมีรายได้

                  พอประมาณและเห็นโอกาสที่จะหารายได้จากแหล่งดังกล่าวนี้
                        ภาพดังกล่าวจึงสะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยมีความยืดหยุ่นสูง (resilience) มีความ
                  หลากหลาย มีการผลิตและแหล่งรายได้ที่หลากหลายเพื่อประคองชีวิตทางเศรษฐกิจในยามวิกฤติ
                        ในขณะเดียวกัน ผลกระทบด้านอาหารการกินอยู่ ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยไม่ค่อยได้รับผลกระทบ

                  จากโควิด-19 ในมิติด้านอาหารการกินมากนัก เนื่องจากยังพออาศัยแหล่งอาหารจากแปลงการผลิตของ
                  ครัวเรือน แหล่งอาหารจากฐานทรัพยากร และการพึ่งพาอาศัยกันในมิติวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนอาหารใน
                  ชุมชน และยังสามารถซื้ออาหารได้จากแหล่งตลาดชุมชนที่หลากหลาย ทั้งตลาดเขียว หรือรถเร่/รถพุ่มพวง
                  ตลาดหน้าบ้านซึ่งกลายเป็นทั้งแหล่งรับประกันความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชนและเป็นกลไกหล่อเลี้ยง

                  เศรษฐกิจชุมชน การอาศัยมิติด้านความสัมพันธ์ทางสังคม เครือข่ายทางสังคมในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
                  ด้วยการแลกเปลี่ยนผลผลิต อาหารการกิน การบริจาค ฯลฯ เหล่านี้จึงสะท้อนให้เห็นระบบเศรษฐกิจฐาน
                  รากและต้นทุนด้านเครือข่ายความสัมพันธ์ในชุมชนที่เกื้อหนุนให้ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยสามารถปรับตัว
                  และคอยช่วยประคับประคองให้ชีวิตพออยู่รอดในสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงเช่นนี้

                        มิติด้านการเยียวยาและช่วยเหลือจากรัฐในโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” พบว่า สมาชิกครัวเรือน
                  เกษตรกรรายย่อยที่หารายได้นอกภาคเกษตรกรรมยังตกหล่นหรือเข้าไม่ถึงการเยียวยาจ านวนมากแม้จะมี
                  การขยายทั้งวงเงินงบประมาณและการปรับกระบวนการพิจารณาตรวจสอบสิทธิ์ แต่สิ่งส าคัญที่เกิดขึ้นก็คือ

                  ความไม่เข้าใจต่อภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยที่มีชีวิตทางเศรษฐกิจที่หลากหลายมิติ การมุ่ง
                  เยียวยาครัวเรือนเกษตรกรที่มองเห็นอาชีพทางการเกษตรมิติเดียว เป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้ผู้คนซึ่งเป็น
                  สมาชิกครัวเรือนดังกล่าวนี้ตกหล่นไม่ได้รับเงินเยียวยาเพราะโดนไล่ให้มารับเงินเยียวยาในฐานะเกษตรกร
                  แต่การเยียวยาครัวเรือนเกษตรกรที่ให้หนึ่งครัวเรือนหนึ่งสิทธิ์ก็ท าให้สมาชิกในครัวเรือนคนอื่น ๆ ที่มีแหล่ง
                  รายได้นอกภาคเกษตรกรรมไม่ได้รบเงินเยียวยา


                        3.9 ข้อเสนอแนะ

                        จากผลการส ารวจและข้อค้นพบดังกล่าวมานี้จึงน ามาสู่ข้อเสนอบางประการดังนี้
                        ประการแรก ทิศทางของการฟื้นฟูชีวิตภาคเกษตรกรรมชุมชนเกษตรกรรายย่อยรัฐต้องมองเห็น
                  ถึงศักยภาพของระบบเศรษฐกิจฐานรากและต้นทุนในชุมชนที่เกื้อหนุนให้ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อย

                  สามารถปรับตัวในสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นดังข้อค้นพบจากการส ารวจนี้ งบประมาณฟื้นฟูของรัฐจ านวน
                  4 แสนล้านบาทที่ก าลังด าเนินการต้องมุ่งหนุนเสริมศักยภาพดังกล่าว
                        ประการที่สอง ด้านกระบวนการฟื้นฟูชีวิตเศรษฐกิจฐานรากภายใต้งบประมาณ 4 แสนล้านบาท
                  จ าเป็นที่ต้องมีสร้างการส่วนร่วมร่วมอย่างกว้างขวางเพื่อให้บทเรียน ประสบการณ์จากชีวิตของผู้คนที่

                  ดิ้นรนปรับตัวของครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยซึ่งเป็นผู้คนจากฐานรากได้เป็นตัวแสดงส าคัญในการฟื้นฟู
                  ชีวิตของตนเอง รัฐไม่ควรด าเนินกระบวนการแบบลุกลี้ลุกลนโดยผ่านกลไกหน่วยงานราชการต่างๆ
                        ประการที่สาม มาตรการเยียวครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยจ าเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องมีความเข้าใจ
                  ภาพชีวิตและวิถีการท ามาหากินของสมาชิกครัวเรือนเกษตรกรที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เงินเยียวยา

                  ต้องครอบคลุมชีวิตสมาชิกครัวเรือนที่เป็นแรงงานนอกภาคเกษตรกรรม ส่วนการเยียวยาเกษตรกรที่มี
                  การลงทะเบียนเกษตรกรต้องค านึงถึงแรงงานรับจ้างและผู้ไร้ที่ดินที่ไม่มีแปลงการผลิตและไม่สามารถ
                  ลงทะเบียนเกษตรกรได้


                                                                                                       40
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60