Page 59 - b28783_Fulltext
P. 59
4.2 สภาวะเศรษฐกิจสังคมของชุมชนก่อนโควิด-19
4.2.1 ความมั่นคงอาหาร
ชุมชนที่ศึกษาเป็นชุมชนเกษตรกรรมและชุมชนฐานทรัพยากร ฐานความมั่นคงอาหารของ
ชุมชนมีหลากหลายมากน้อยต่างกันไป ได้แก่ ฐานทรัพยากรอาหารธรรมชาติ เช่น ชุมชนน่านและชุมชน
คลองตะเกรา ฉะเชิงเทรา พึ่งพาฐานทรัพยากรอาหารจากป่า ชุมชนมหาสารคามพึ่งพาอาหารธรรมชาติ
จากล าน าชี เหมือนกับชุมชนริมน้ าโขงอุบลฯ ที่ยังมีปลาและพืชสัตว์อาหารจากล าน้ าโขงสาขาหลักและ
สาขาย่อย ชุมชนฝั่งทะเลภูเก็ตพังงาที่พึ่งพาทะเลเป็นหลัก แม้ชุมชนสงขลาก็ยังได้ทรัพยากรทางทะเลจาก
ทะเลสาบสงขลาและทะเลอ่าวไทย
ความมั่นคงอาหารของกลุ่มต่างๆ ยังมาจากฐานการผลิตที่ไม่เพียงผลิตพืชทางเศรษฐกิจเพื่อขาย
ยังมีผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนด้วย ทั้งการปลูกข้าวไว้บริโภคอย่างชุมชนมหาสารคามและอุบลฯ การปลูก
พืชผักไว้บริโภคในครัวเรือนของทุกพื้นที่
แต่กระนั้นสถานการณ์ความมั่นคงอาหารของชุมชนต่าง ๆ หาได้อยู่ในความสมบูรณ์ ชุมชนต่างๆ
เผชิญเงื่อนไขที่ท าให้ระบบอาหารไม่มั่นคงหลายปัจจัย
ชุมชนจังหวัดน่านซึ่งตั้งอยู่ในภูมิทัศน์ภูเขาสูงมีป่าไม้และต้นน้ าที่ชุมชนร่วมกันดูแลรักษาในรูปป่า
ชุมชน แต่กระนั้นก็เผชิญกับการขยายตัวพืชเศรษฐกิจข้าวโพดที่ท าให้ระบบนิเวศป่าไม้เสื่อมโทรม และ
นโยบายป่าไม้ที่ดินของรัฐที่ท าให้ชุมชนขาดสิทธิมั่นคงในที่ดินท ากิน แรงกดดันทางเศรษฐกิจข้าวโพดจาก
กลไกตลาดขัดแย้งโดยตรงกับนโยบายป่าไม้ที่ดินที่ต้องการหวงกันพื้นที่ป่า ท าให้ชุมชนไม่เพียงสูญเสียฐาน
ทรัพยากรอาหารและต้นน้ าจากป่า หลายแห่งถูกกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรจากป่าด้วย แม้ชาวบ้านอาจจะ
ยังพอต่อรองเข้าถึงอาหารธรรมชาติได้บ้าง แต่ความไม่มั่นคงในสิทธิที่ดินท ากินส่งผลต่อความไม่มั่นคงใน
การท าการผลิตของชุมชนด้วย
ชุมชนสายน้ าโขงที่อุบลฯ ก็เป็นกลุ่มที่เผชิญปัญหาความผันผวนของระบบนิเวศน้ าโขง (สายหลัก
และสาขา) อย่างรุนแรงจากการสร้างเขื่อนในประเทศจีน ลาว และไทย พวกเขาเจอภาวะขึ้นลงของน้ าโขงที่
ไม่ปรกติมาตั้งแต่ปี 2545 และมาเด่นชัดในปี 2551 ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอาหารอย่างรุนแรง
ปริมาณปลาและสัตว์น้ าที่เคยจับได้ลดลงไม่ต่ ากว่าร้อยละ 50 พืชผักริมตลิ่ง เช่น ถั่วลิสง และอื่น ๆ ผลผลิต
เสียหาย ระบบนิเวศอาหารเผชิญสภาวะเปราะบาง
ชุมชนชาวนาอย่างชุมชนสารคามริมน้ าชี พวกเขาก็มีน้ าท่าอุดมสมบูรณ์จากน้ าชี บางส่วนหาปลา
ส่วนใหญ่ท านามีความมั่นคงโดยท านาปีละ 2 ครั้ง (นาปีและนาปรัง) ผลผลิตข้าวส่วนหนึ่งก็ไว้บริโภค ความ
มั่นคงอาหารขึ้นอยู่กับระบบการผลิตเป็นหลัก แต่ชุมชนก็เริ่มเผชิญปัญหาแล้ง ท าให้การท านาลดลงเหลือ
แต่นาปี สถานะความมั่นคงอาหารจึงลดลง
ชุมชนริมฝั่งทะเลภูเก็ตและพังงาที่พึ่งพาระบบนิเวศชายฝั่งทะเลอันประกอบด้วยป่าชายเลน ป่า
ชายหาด หญ้าทะเล และสัตว์น้ าทะเล ทะเลเป็นทั้งฐานความมั่นคงอาหารตามธรรมชาติและฐานเศรษฐกิจ
แต่ระบบบริการทางนิเวศที่พวกเขาได้รับจากชายฝั่งและทะเลก็เริ่มสั่นคลอนจากการขยายตัวของธุรกิจ
ท่องเที่ยว ป่าชายเลนถูกบุกรุก หาดสาธารณะถูกจับจอง พวกเขายังเจอการประกาศเขตอนุรักษ์ทางทะเลที่
ปิดกั้นการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางทะเลบางส่วน และการขยายตัวของประมงพาณิชย์ แต่กระนั้นทะเลก็
ยังเป็นฐานความมั่นคงอาหารที่รองรับชุมชนได้อยู่
ชุมชนสิงหนคร แห่งลุ่มทะเลสาบสงขลาก็เป็นกลุ่มที่มีฐานความมั่นคงอาหารหลากหลาย ทั้ง
ระบบนา สวนพืชผักผลไม้ และทรัพยากรทะเลจากทะเลสาบสงขลาและทะเลอ่าวไทย มีระบบการผลิตและ
แลกเปลี่ยนอาหารเป็นเครือข่ายวงกว้าง
44