Page 62 - b28783_Fulltext
P. 62
ขณะที่ชุมชนฉะเชิงเทราก็มีมาตรการเข้มงวด ใช้ อสม. คัดกรองคนที่เข้าพื้นที่ ถ้าพบการติดต่อจึง
ขอความช่วยเหลือไปทางหน่วยงานรัฐ กักกันโรคอย่างเคร่งครัดเท่าที่ท าได้ โดยใช้อสม.วัดไข้ กักตัวผู้เข้า
อบรม และคัดประชาชนให้แยกห่างกัน อสม.แต่ละคนจะดูแลบ้านของสมาชิกประมาน 10 หลังต่อคน ใน
เรื่องแจกจ่ายความช่วยเหลือจากเงินกองทุนหมู่บ้าน จนกองทุนประมาณหนึ่งแสนบาทหมดลง (รวมความ
ช่วยเหลือจากทางวัดชุมชนและอบต.ด้วย) จึงเกิดความไม่พอใจในบางครั้ง เนื่องจากงบประมาณน้อย ท าให้
ความช่วยเหลือไม่เท่าเทียมกัน
ชุมชนสิงหนคร สงขลา ก็กลัวการระบาดจึงให้ความร่วมมือตามนโยบายรัฐด้วยดี ไม่ออกไปไหน
งดไปมาหาสู่กัน มีติดเชื้อ 6 รายแต่รักษาหายหมด มีหน่วยงานสธ.มาจัดประชุม เก็บประวัติ แจกหน้ากาก
และเจล ใช้อสม.ผลัดกันเข้าเวรและตามตรวจที่บ้านในเขตของตนซึ่งมีประมาณ 15 หลังคาเรือนอย่าง
ละเอียด มีการกักตัวคนที่มาจากนอกพื้นที่และฉีดยาฆ่าเชื้อที่บ้าน และให้ค าแนะน ากับสมาชิกถึงวิธีดูแล
ป้องกันตนเอง ใช้มาตรการป้องกันเต็มที่แม้แต่กับตัวอสม.เอง และถ้าพบการติดต่อจึงขอความช่วยเหลือไป
ทางหน่วยงานรัฐ เพื่อการกักกันโรค 14 วันต่อไป
ส าหรับภูเก็ตที่เป็นเมืองการค้า แม้มีความหลากหลาย แต่ชุมชนก็ร่วมกันรับมือได้ดี ภูเก็ต
ประกอบด้วย 1) ชุมชนดั้งเดิม (กลุ่มนี้ทุกคนคิดว่าบ้านคือหลักประกันเมื่อเกิดวิกฤติโควิด คือค้าเกิด
เหตุการณ์ก็พึ่งพิงที่บ้านได้) 2) ผู้อยู่อาศัยชั่วคราวระยะยาว เช่นมาตั้งรกรากให้ลูกเรียนจบค่อยกลับบ้าน
และ 3) ผู้อยู่อาศัยที่มาเป็นฤดูกาล เช่นแรงงานภาคการท่องเที่ยวและช่างฝีมือ สองกลุ่มหลังนี้กลับบ้าน
ไม่ได้ในช่วงพรก.ฉุกเฉิน โดยทุกกลุ่มดูแลตัวเองได้ ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ มีหน่วยงานรัฐมาแจกหน้ากาก เจ
ลบ้าง แต่ส่วนมากผลิตกันเอง
กล่าวโดยสรุป โควิดเป็นโรคระบาดที่ชุมชนตื่นกลัว จึงเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนด าเนินการ
เข้มงวดกวดขันในการป้องกันโรค มองในแง่หนึ่ง โควิดได้เป็นบทสะท้อนพลังความร่วมมือร่วมใจของชุมชน
เป็นอย่างดี นั่นอาจเป็นเหตุผลให้ประเทศไทยประสบความส าเร็จในการป้องกันการแพร่ระบาด
4.3.2 ผลกระทบความมั่นคงอาหารและเศรษฐกิจชุมชน
ความมั่นคงอาหารถือเป็นตัวชี้วัดส าคัญว่า ชุมชนเดือดร้อนจากสภาวะโควิดไปถึงระดับการด ารง
ชีพมากน้อยแค่ไหน เรามาดูในแต่ละพื้นที่กัน
ชุมชนจังหวัดน่าน ด้วยความเป็นชุมชนเกษตร มีฐานทรัพยากรดิน น้ า ป่า ที่สมบูรณ์ ชาวบ้าน
ยังไม่เดือนร้อนเรื่องอาหารมากนักเพราะมีแหล่งอาหารตามธรรมชาติมาก ยามที่ตลาดส่วนกลางปิดตัวลง
ชุมชนได้เตรียมส ารองอาหารจากซูเปอร์มาร์เก็ตเช่นไข่ไก่ไว้ แต่สภาพเศรษฐกิจมีปัญหา รายได้ลดลงกว่า
60% แต่ก็ได้ความช่วยเหลือจากรัฐ 5,000 บาทมาชดเชยได้บ้าง แต่ด้วยความพอมีพอกิน อยู่ง่ายกินง่าย
ของคนพื้นที่ ท าให้ผลกระทบไม่รุนแรงด้วย แต่ถ้าวิกฤติอยู่ต่อเนื่องไปนานๆก็คงจะรับมือแบบเดิมไม่ได้อีก
ที่ต าบลเปือ เมืองจัง มักจะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเช่นข้าวโพด (ซึ่งราคายังสูงอยู่ที่ 9 บาท ดีกว่าพืช
อื่นๆ) ยาง และถั่วลิสง ในช่วงการระบาดของโควิด 19 นั้นขายไม่ได้ และมูลค่าตกต่ าเพราะต้องขายออก
อย่างเดียว เอาไปแปรรูปไม่ได้ ส่วนปลูกผักเพื่อท าเมล็ดพันธุ์ (เป็นเกษตรพันธสัญญา) ซึ่งแรงงานครัวเรือน
ดูแลกันเองได้
ชาวบ้านยังมีรายได้เสริมอื่นๆ ในชุมชนต้องการผู้รับเหมาก่อสร้างเพิ่ม ส่วนหัตถกรรมแปรรูปไม้
ลดลงเพราะช่างฝีมือนั้นหายไป ต้องการให้มีการฝึกอบรมขึ้นมาใหม่ เพื่อรองรับคนที่ตกงานจากในเมือง
เพราะงานช่างชุมชน ช่างไม้ ผลิตภัณฑ์จากไม้เป็นที่ต้องการมาก
47