Page 61 - b28783_Fulltext
P. 61
เศรษฐกิจซบเซา แต่กลุ่มชาวบ้านที่พึ่งพาฐานเกษตร มีกลุ่มออมทรัพย์เข้มแข็ง และมีธุรกิจชุมชนร่วมกัน
ฐานเศรษฐกิจของพวกเขายังตั้งมั่นได้ดี
เทียบกับชุมชนพังงา-ภูเก็ต ซึ่งมีฐานเศรษฐกิจจากประมง ท าสวน การค้า และการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจชุมชนผูกโยงกับท่องเที่ยวเป็นตัวน า ชาวบ้านที่มีรายได้น้อยของภูเก็ตมีอาชีพรับจ้างทางการ
เกษตรและประมงมาแต่เดิม แต่ไม่มีที่ดินหรือเรือเป็นของตนเอง ส่วนมากมักมีอาชีพเสริมเป็นแรงงานภาค
บริการและการท่องเที่ยวด้วย ซึ่งมีรายได้ค่อนข้างดี ท าให้มีฐานะทางการเงินดีกว่าประชากรที่มีรายได้น้อย
ในจังหวัดอื่นๆของประเทศ กล่าวโดยเฉพาะชุมชนที่พึ่งพาฐานทรัพยากรชายฝั่ง ทะเลคือฐานที่มั่นเศรษฐกิจ
พวกเขา บวกกับช่วงรายได้การท่องเที่ยวก็ยังไปได้ดี แม้โดยภาพรวมเศรษฐกิจท่องเที่ยวของภูเก็ตจะตกต่ า
ในช่วง 4-5 ปีจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและการเมืองในระดับประเทศ
กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจของชุมชนแม้จะมีฐานที่หลากหลายต่างกัน ส่วนใหญ่มีฐานการผลิต
เกษตรกรรม บางส่วนมีฐานทรัพยากรธรรมชาติให้เข้าถึงอาหารและสร้างรายได้ บางส่วนท าการค้า รับจ้าง
และพึ่งเศรษฐกิจนอกเกษตร เช่น การท่องเที่ยว แต่โดยภาพรวมแล้ว เศรษฐกิจชุมชนเผชิญปัญหาความไม่
มั่นคงฐานทรัพยากรจากภาวะภัยแล้ง ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ าที่กระทบไปถึงความมั่นคงทางการผลิต เมื่อ
ฐานเศรษฐกิจส าคัญที่เคยพึ่งพามีปัญหา เช่น ชุมชนน้ าโขงที่พึ่งทรัพยากรแม่น้ าโขง ชุมชนชายฝั่งภูเก็ตที่
พึ่งพานิเวศชายฝั่งได้รับผลกระทบ ชุมชนเผชิญปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคือง ภาวะหนี้สิน และการดิ้นรนไป
ท างานรับจ้างตามที่ต่าง ๆ เป็นตัวสะท้อนภาวะเศรษฐกิจตกต่ าของชุมชนได้ชัดเจน
4.3 ผลกระทบโควิดของชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
4.3.1 ทัศนะของชุมชนต่อโควิด และการรับมือสู้โรค
ในช่วงโควิดเริ่มระบาด รัฐและสื่อมวลชนโหมประโคมการแพร่ระบาด ท าให้สังคมเกิดความ
ตระหนกอย่างมาก ชุมชนทั้ง 6 แห่ง ก็เป็นภาพสะท้อนที่ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารวิกฤติโควิดจาก
ภาครัฐผ่านสื่อกระแสหลัก ท าให้ชุมชนเกิดความกลัว
ส าหรับชุมชนแล้ว โควิดเป็นโรคอุบัติที่รุนแรงอย่างไม่เคยเจอมาก่อน ท าให้ชาวบ้านตื่นกลัวกัน
มาก กลไกทางสังคมของชุมชนท างานอย่างเข้มข้น ทั้งมาตรการตรวจตรา การสื่อสารให้คนที่จะเข้ามา
ชุมชนต้องกักตัว หรือกระทั่งคนที่ร่วมกิจกรรมกับคนเสี่ยง ก็ต้องถูกชุมชนกดดันให้กักตัว โควิดในทัศนะ
ชุมชนต่าง ๆ จึงเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ร้ายแรง รัฐไม่สามารถปกป้องคุ้มครองชีวิตพวกเขาได้ ชุมชนจึงต้องลุก
ขึ้นมาด าเนินการเอง
ตัวอย่างที่จังหวัดน่าน ชุมชนใช้ อสม. คัดกรองคนที่เข้าพื้นที่/นักเรียนและแรงงานที่กลับบ้าน
กักกันโรคอย่างเคร่งครัดเท่าที่ท าได้ โดยใช้อสม.วัดไข้ รายงานไปหมู่บ้าน และประสานงานกับจังหวัด
ตามล าดับ กักตัว 14 วัน และคัดประชาชนให้แยกห่างกัน แต่มีจุดอ่อนคือเมื่อชาวบ้านพอเห็นว่าไม่มีการติด
โรคจริงนาน ๆ ไป “การ์ดก็ตก” ชุมชนจึงต้องการให้มีตัวบทกฎหมายควบคุมที่ชัดเจนและเจ้าหน้าที่มาช่วย
ควบคุม และขอหน้ากากอนามัยเพิ่ม เจลแอลกอฮอล์เพิ่ม
เช่นเดียวกับชุมชนที่มหาสารคาม ชาวบ้านใช้มาตรการการกักตัวได้ผลมาก เพราะมี
อาสาสมัครถึง 9 คน ดูแลคนละสิบครัวเรือน ถ้ามาจากที่เสี่ยงจะประกาศให้มารายงานตัว และต้องอยู่แต่
บ้านออกไม่ได้ ต้องท ากับข้าวกินกันเองภายในบ้าน การจัดการป้องกันโรคของชุมชนไม่ต้องใช้งบประมาณ
ในการกักตัวมากนัก เพราะเป็นชุมชนเล็ก เน้นการดูแลช่วยเหลือกัน และปฏิบัติตามค าแนะน าของ
อาสาสมัครอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังก าหนดไม่ให้ลูกหลานที่ท างานหรือเรียนอยู่ในเมืองกลับบ้านเพราะ
กลัวการกระจายของโรค แต่จะส่งความช่วยเหลือไปให้
46