Page 69 - b28783_Fulltext
P. 69
แต่ผลจากการที่ชาวบ้านหันกลับมาพึ่งทะเลกันมากขึ้นก็ท าให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากร
ในพื้นที่ สัตว์น้ าบางชนิดถูกจับจนหมด ท าให้พวกเขาต้องหันมาฟื้นฟูดูแลฐานทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
อย่างจริงจัง
กล่าวโดยสรุปแล้ว ฐานทรัพยากรธรรมชาติมีความส าคัญในฐานะเป็นปัจจัยด ารงชีพ เป็น
สวัสดิการทางสังคมที่มาจากทรัพยากร โดยเฉพาะคนยากจนที่อาศัยทรัพยากรสาธารณะเพื่อด ารงชีพ
ชุมชนท้องถิ่นที่พึ่งพิงทรัพยากร เช่น ชุมชนน่าน ชุมชนริมน้ าโขง ชุมชนฉะเชิงเทรา และภูเก็ต ต่างอาศัย
ฐานทรัพยากรในการปรับตัวต่อสถานการณ์ดังเช่นกรณีวิกฤติโควิด หากฐานทรัพยากรสมบูรณ์ และชุมชนมี
การจัดการทรัพยากรที่ดี ย่อมท าให้ชุมชนสามารถเผชิญวิกฤติได้ดี แต่หากฐานทรัพยากรที่ชุมชนพึ่งพิง
เสื่อมโทรม ถูกท าลาย หรือถูกปิดกั้น ชุมชนย่อมมีความเปราะบางในการเผชิญวิกฤติ ดังปรากฏ ชุมชน
ริมน้ าโขง ชุมชนภูเก็ต ดังนั้น การฟื้นฟูวิกฤติเศรษฐกิจต้องมุ่งฟื้นฟูฐานทรัพยากรของชุมชนด้วย
4.4 กระบวนการปรับตัวของชุมชนและทิศทางของชุมชน
การปรับตัวในภาวะวิกฤติเป็นตัวบ่งบอกส าคัญว่าชุมชนมีความเข้มแข็งหรือไม่ ชุมชน 6 แห่งมี
การตั้งรับ ปรับตัวอย่างไรในภาวะโควิด
ชุมชนจังหวัดน่าน เมื่อเจอวิกฤติเศรษฐกิจโควิด ชาวบ้านมุ่งลดค่าใช้จ่ายด้วยการประหยัดเงิน
มากขึ้น และสร้างความมั่นคงอาหารในครัวเรือน เช่น เก็บไข่จากไก่เลี้ยงกินและปลูกผักบ้าง และส ารอง
อาหารครัวเรือนเพื่อรับมือวิกฤติ
นอกจากนี้ชาวบ้านยังหารายได้เสริมทางอื่น เช่น แปรรูปผลผลิตจากป่าและการเกษตร รับจ้าง
แต่ชุมชนก็เผชิญปัญหา เช่น การน าไม้สักมาแปรรูปไม่ใช่เรื่องง่าย ติดที่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมี
ความยุ่งยาก และที่ส าคัญคือ ขาดแคลนช่างฝีมือชุมชน ดังนั้น หัวใจของการสร้างอาชีพเสริมจากฐาน
ทรัพยากรที่มีก็คือ การฟื้นฟูและพัฒนาทักษะช่าง งานฝีมือ พร้อมกับปรับเงื่อนไขให้ชุมชนเข้าถึงทรัพยากร
เช่น ไม้จากป่าสาธารณะ ป่าชุมชนให้สะดวกยิ่งขึ้น
ยังมีความเป็นไปได้อื่นของการสร้างทางเลือกเศรษฐกิจในภาวะวิกฤติ เช่น การพัฒนาการ
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน ดึงเงินนักท่องเที่ยวออกมาจากจุดท่องเที่ยวกระแสหลัก (จัดการโดยรัฐและ
เอกชน) เพื่อกระจายไปให้ทั่วถึง และลดค่าขนส่งโดยน าผู้ซื้อเข้ามาในพื้นที่ แต่ทั้งนี้ชุมชนก็ต้องมีการพัฒนา
ระบบจัดการ ระบบข้อมูล สื่อสาร และการตลาดให้กว้างขวาง ซึ่งตอนนี้ชุมชนยังท าได้ไม่มากนัก ต้องการ
การหนุนเสริม
ชุมชนมหาสารคาม พึ่งพาเศรษฐกิจการตลาดมาก พวกเขาใช้วิธีประหยัดเป็นหลัก แต่ก็ไม่
สามารถช่วยได้มากนักเพราะปกติก็กินน้อยใช้น้อยอยู่แล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่นค่าเทอมลูกเท่าเดิม ลด
ไม่ได้ ตัวชี้วัดส าคัญคือหนี้สินครัวเรือน ที่มีเฉลี่ยประมาณ 50,000 บาทต่อครอบครัว ในช่วงกักตัวจากการ
ระบาดของไวรัสโควิด 19 นั้น ไม่ได้ท าให้หนี้เพิ่มขึ้นเพราะไม่มีใครสามารถให้ยืมเงินกันได้ และไม่อยาก
สร้างหนี้ใหม่ แม้ว่า ธกส.จะเสนอดอกเบี้ยฟรี ทน ๆ อยู่อย่างประหยัดไป ส่วนเงินออมนั้นไม่มีเลย
การปรับตัวของชาวบ้านที่จริงเริ่มก่อนหน้านี้แล้ว ชุมชนได้เริ่มท าเกษตรยั่งยืนตอนนี้ขยายได้ร้อย
ละ 30 ของชุมชน และมีระบบนาแปลงรวมเพื่อท าการผลิตและแบ่งปันผลผลิตร่วมกัน นอกจากนี้ก็มีการ
ปลูกพืชผัก สร้างความมั่นคงอาหารในครัวเรือน การปรับตัวดังกล่าวต้องอาศัยกระบวนการเปลี่ยนผ่านอีก
ระยะเพื่อให้เกิดความมั่นคง แต่ในระยะสั้นชาวบ้านต้องอาศัยเงินสดเพื่อการลงทุนและการบริโภค ท าให้
การปรับตัวของชาวบ้านในภาวะโควิดยังเป็นไปไม่ได้มากนัก ชาวบ้านหลายรายจ าเป็นต้องพึ่งพาการ
ช่วยเหลือของรัฐบาล ซึ่งเมื่อการช่วยเหลือหมดลง ชาวบ้านก าลังเผชิญปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจมากขึ้น
54