Page 34 - b28783_Fulltext
P. 34

2.4.9 ชุมชนฐานทรัพยากรชายฝั่งอ่าวไทย
                           ชุมชนชายฝั่งอ่าวไทยดังตัวอย่างชุมชนที่สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีทั้งฐานประมง ฐานท่องเที่ยว และฐาน

                  การเกษตร ซึ่งสถานการณ์ก็ไม่ต่างจากชุมชนภูเก็ต-พังงา ในระยะแรก ชาวบ้านแม้ท าประมงได้แต่ไม่มี
                  ตลาด แพปลา แหล่งรับซื้อส าคัญไม่รับซื้อสินค้าจากชุมชน ชาวบ้านเหลือแต่เพียงหาอยู่หากิน แต่ก็ยังต้อง
                  เผชิญปัญหาลมมรสุมกระหน่ าในช่วงนี้ท าให้ออกเรือล าบาก
                           ชุมชนชายฝั่งที่ท าประมงเข้าถึงการช่วยเหลือและสวัสดิการของรัฐได้ยาก หลายพื้นที่ไม่ได้รับถุง

                  ยังชีพ ชาวบ้านพึ่งพากองทุนประมงทะเลที่มีอยู่ (ปัจจุบันรัฐยังไม่ผ่านร่าง พ.ร.บ.กองทุนประมงแห่งชาติ
                  และร่าง พ.ร.บ.สภาการประมงแห่งชาติ) หลายรายเริ่มประสบปัญหาไม่สามารถคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่ง
                  หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้กองทุนประมงของชุมชนจะเกิดปัญหาสะดุดได้
                              ชาวบ้านยังมีฐานการเกษตรที่ให้พึ่งพาแต่ก็ติดปัญหาขาดแคลนน้ าการเกษตร หากผลิต

                  เชิงเดี่ยวจะยิ่งย่ าแย่ ทิศทางการเกษตรที่ชุมชนออกแบบคือ เร่งสร้างความมั่นคงอาหารในบ้าน นา สวน
                  เช่น ปลูกผักหลังบ้าน หรือแซมในแปลงนา โดยจะต้องพัฒนาหรือจัดหาเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นมาปลูก และหา
                  แนวทางสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น การแปรรูป หรือหาช่องทางการขายผลผลิตให้ท้องถิ่นเพื่อยกระดับรายได้ให้
                  มากขึ้น


                        2.4.10 ภูเก็ต เมืองท่องเที่ยวที่ร้างและถูกปิดล้อม
                           ภูเก็ต จังหวัดที่มีการติดเชื้อสูงอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย รองจากกรุงเทพฯ เศรษฐกิจภูเก็ต

                  ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เมื่อเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจโควิด
                  แรงงานส่วนใหญ่ที่เป็นคนต่างจังหวัดต่างพากันกลับบ้าน ศูนย์กลางเศรษฐกิจภูเก็ตตกอยู่ในภาวะอัมพาต
                           ส าหรับพื้นที่ชายขอบ เช่น ต าบลป่าคลอก อ าเภอถลาง ชุมชนชายฝั่งทะเล พิเชษฐ์ ปานด า
                  นักพัฒนาในพื้นที่ได้เล่าให้ฟังว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ชายขอบกับเมืองมีสองลักษณะ คือ ส่งแรงงาน
                  เข้าไปในเมือง กับเป็นพื้นที่ส่งอาหารสู่เมืองโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว เมื่อเศรษฐกิจเมืองหยุดชะงัก วงจร

                  เศรษฐกิจถูกตัดขาด กิจกรรมประมงของชาวบ้านก็เปลี่ยนไปด้วย จากที่เคยจับปูปลาส่งตลาดในเมือง กลับ
                  หันมาจับสัตว์น้ าเพื่อบริโภคมากขึ้น ทรัพยากรทะเลได้เปลี่ยนจากการค้ามาเป็นการพึ่งตนเองมากขึ้น
                  ชาวบ้านหลายรายที่เคยรับจ้างในเมืองและปล่อยเรือทิ้งร้างกลับมาซ่อมแซมเรือเพื่อออกหาปลามาบริโค

                  แทนรายได้ที่หายไป และผลจากการที่ทรัพยากรอาหารทะเลกลับมาสู่ท้องถิ่น ท าให้ตลาดในชุมชนคึกคัก
                  ขึ้น
                           เมื่อเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลักต้องหยุดชะงักลงอย่างสิ้นเชิง ผลกระทบไม่ได้อยู่แค่
                  จังหวัดเท่านั้นแต่ลามไปถึงจังหวัดอื่น ๆ เพราะภูเก็ต-พังงาเป็นศูนย์กลางของรายได้ แรงงาน รวมถึงอาหาร

                  ที่ต้องน าเข้ามาจากจังหวัดอื่นๆ เมื่อเศรษฐกิจที่ถูกปิดตัวจะกระทบลามเป็นลูกโซ่ ผู้คนพยายามหาทางกลับ
                  บ้านตนเองแต่ถูกปิดกั้น ตอนนี้เริ่มผ่อนคลาย หลายคนจะเร่งกลับบ้าน บ้างขับมอเตอร์ไซด์กลับไปถึงบ้านที่
                  โคราช แต่โดยรวมแล้ว ชาวบ้านยังหวังว่าเศรษฐกิจการท่องเที่ยวจะกลับคืนมาเร็ววัน
                           แต่ส าหรับชุมชนท้องถิ่น พวกเขามีฐานเศรษฐกิจ 3 ฐาน ทั้งการท าประมง การท่องเที่ยว และ

                  การท าสวนท าไร่ ผลกระทบจากโควิดท าให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก ส่วนการท าประมงเพื่อหารายได้ก็ลดลง
                  ถึง 2 เท่า เพราะตลาดปิดและไม่สามารถขนส่งทางไกลได้ ชุมชนปรับตัวกลับไปพึ่งความมั่นคงทางอาหาร
                  จากฐานทรัพยากรธรรมชาติจากชายฝั่งและทะเล ผู้คนต่างกลับไปหาปูหาปลาเพื่อบริโภค แม้ทรัพยากรจะ
                  ฟื้นฟูขึ้นจากการหยุดตัวลงของอุตสาหกรรมประมง แต่ฐานทรัพยากรจะรองรับการกลับมาหากินของผู้คน

                  จ านวนมากได้อีกนานแค่ไหน ยังเป็นสิ่งที่ต้องจับตา


                                                                                                       19
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39