Page 32 - b28783_Fulltext
P. 32
แต่กระนั้นชุมชนบ้านนอกยังพอหาอยู่หากินหาผักหาปลาได้บ้าง ยามค่ าคืนยังแอบลักลอบไปหากบ อึ่งอ่าง
แม้จะต้องเผชิญกับการห้ามปรามอย่างเข้มงวด บางชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์ที่ยังพอให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
ประทังชีพ แต่ส าหรับหนี้สินไม่รู้จะจัดการอย่างไร ทั้งหนี้ ธ.ก.ส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร) และหนี้นอกระบบ แล้วพวกเขาจะเอาเงินที่ไหนลงทุนท านาท าสวนรอบต่อไป
แต่ส าหรับชุมชนเมืองแล้วล าบากกว่ามาก คนเมืองที่จนลงอย่างรวดเร็วในเวลานี้มีค าถามและ
ความหวังอยู่อย่างเดียวคือ รัฐหรือเอกชนจะแจกอาหาร ของกินของใช้ที่ไหน หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้
มาตรการช่วยเหลือด้านเม็ดเงินของภาครัฐคงแค่บรรเทาปัญหาเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากไม่สามารถเปลี่ยน
ทั้งภาคชนบทและเมืองให้พึ่งตนเองด้านอาหารและเศรษฐกิจให้มั่นคงได้
2.4.7 ชุมชนริมฝั่งโขง
ณ ริมฝั่งแม่น้ าโขง หนองคาย ชุมชนที่นี่และอีกหลายแห่งตลอดสายน้ าที่เคยทุกข์ระทมจากภาวะ
แม่น้ าโขงก าลังตายด้วยเขื่อนใหญ่น้อย เริ่มมีความหวังเพียงเล็กน้อยที่จะได้จับปลาเมื่อน้ าในแม่น้ าโขงเอ่อ
สูงขึ้นจากการที่จีนเริ่มปล่อยน้ าจากเขื่อน แต่ความหวังของพวกเขาถูกท าให้สลายไปเมื่อรัฐบาลประกาศปิด
เมือง ประกาศเคอร์ฟิว และบังคับใช้มาตรการระยะห่างทางสังคมซึ่งจะเข้มข้นมากกับพื้นที่ชายแดนเช่นนี้
ยามปรกติชาวบ้านจะออกหาปลายามค่ าคืน แต่ในยามนี้ติดเคอร์ฟิว ได้แต่หาปลาตอนกลางวัน
ซึ่งก็หาได้ไม่มากนัก และปลาที่หาได้ก็ไม่มีใครมารับซื้อ เพราะตลาดในเมือง ภัตตาคาร ร้านอาหารต่าง ๆ
ต่างปิดกันหมดสิ้น ไม่มีตลาดที่พวกเขาจะเข้าถึง รายได้จากแม่น้ าโขงที่เคยหล่อเลี้ยงชีพหดหายไป แต่ในแง่
หนึ่งก็เป็นโอกาสดีที่ชาวบ้านจะได้บริโภคปลาตัวโตที่แต่ก่อนคงขายพ่อค้าไปหมดสิ้น
จะมีบางรายที่พยายามดิ้นรน เอาปลามาหมักปลาร้าหรือแปรรูปอื่นๆ เพื่อขาย แต่มีเพียงไม่มีกี่
รายที่พอท าได้ เพราะขาดทุนรอน ไม่มีตลาด และไม่มีใครส่งเสริม
หากเป็นปีที่แล้วในเวลานี้พวกเขายังพอมีทางเลือกรายได้จากพืชผักและดอกไม้ริมโขง เช่น ดอก
ดาวเรือง ที่ปลูกไว้ขายในเทศกาลประเพณีบุญบั้งไฟ สงกรานต์ ที่จะมีผู้คนมาร่วมงานบุญอย่างคึกคัก แต่
เทศกาลทั้งหมดต้องยุติลงอย่างสิ้นเชิง
ขณะที่รายได้อีกทางหนึ่งคือการท่องเที่ยว ชุมชนริมน้ าโขงทั้งหนองคายมาจนถึงอุบลราชธานี
ดังเช่นบ้านส าโรง ผาชัน อ าเภอโพธิ์ไทร อุบลฯ เคยได้รายได้จากการท่องเที่ยวริมน้ าโขงถึงร้อยละ 70 จาก
รายได้ที่หาได้ แต่ตอนนี้รายได้หลักก็หายไปหมด
ฐานที่มั่นสุดท้ายที่ยังอยู่คือ คือ อาหารจากแหล่งธรรมชาติจากริมโขง บุ่งทาม และพืชผักเพื่อ
บริโภคในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนในชุมชน แต่ความมั่นคงทางอาหารจากธรรมชาติและการท านาไร่ ยังท า
ให้พวกเขาพอด ารงชีพอยู่ได้ระยะหนึ่ง แต่จะท าอย่างไรกับหนี้สินที่มีไม่ต่ ากว่า 2 แสนบาทต่อครัวเรือน
พวกเขายังไม่มีค าตอบ
แม้จะมีลูกหลานที่ต้องหยุดงานกลับมาอยู่บ้าน พวกเขาไม่มีความรู้และไม่อยากมีชีวิตหาอยู่หากิน
กับธรรมชาติหรือท าการผลิต ลูกหลานที่เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นคนเมืองเพียงแต่รอการช่วยเหลือจากรัฐ และรอ
ที่จะกลับคืนสู่เมืองเพื่อท างานอีกครั้ง โดยหวังลม ๆ แล้ง ๆ ว่าวิกฤตินี้จะด ารงอยู่ไม่นาน
วิกฤติครั้งนี้ชุมชนริมฝั่งโขงมองว่า รุนแรงกว่าวิกฤติต้มย ากุ้งปี 2540 มาก เพราะตอนนั้นฐาน
ทรัพยากรยังสมบูรณ์ ชุมชนมีความสามารถในการผลิต ชาวบ้านยังมองว่าเป็นปัญหาของเมืองไม่ใช่ปัญหา
เขาไม่ได้กระทบชุมชนมากนัก แต่วิกฤติโควิดคราวนี้ ทางออกไม่ใช่เพียงแค่การอัดฉีดงบประมาณที่เท่าไหร่
ก็ไม่พอ หากชุมชนไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากร และพึ่งตนเองด้านอาหารและเศรษฐกิจได้
17