Page 37 - b28783_Fulltext
P. 37
ก าหนดนโยบายการพัฒนาก็เร่งรัดให้ผู้น าชุมชนจัดท าโครงการช่วยเหลือชาวบ้านโดยให้เวลาพัฒนา
โครงการระยะสั้นมาก โดยมองข้ามกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคม นักพัฒนาในพื้นที่
ประเมินว่า หากเป็นเช่นนี้ โครงการที่ได้คงไม่พ้นปัญหาเดิม ๆ ที่ท้องถิ่นมุ่งแต่ช่วยเหลือระยะสั้นและลงทุน
โครงสร้างพื้นฐาน แต่ไม่ได้ช่วยเหลือและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่าใดนัก และยังจะท าให้เกิดการ
คอร์รัปชั่นโดยอาศัยวิกฤติโควิด
นอกจากมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ภาครัฐได้เริ่มขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่เพื่อเตรียมกระตุ้น
เศรษฐกิจ เมกะโปรเจกต์ทั้งหลายที่เคยถูกประชาชนคัดค้านก าลังน ามาปัดฝุ่นใหม่ เช่น คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
เขตเศรษฐกิจพิเศษอุตสาหกรรมจะนะ สงขลา เมื่อต้นปีนี้ และการประกาศเขตคณะกรรมการส่งเสริมการ
ลงทุนประกาศนโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้น
ให้โครงการขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายมีการลงทุนในประเทศโดยเร็ว และยังมีโครงการอื่นๆ อีก
มากมายที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐและทุนโดยเร่งรัดใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรของชุมชน โครงการที่
เร่งรัด ขาดการประเมินผลกระทบที่เพียงพอและขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน จะเป็นการท าลายสมรถนะ
การด ารงชีพของชุมชนลงไป
2.4.12 ความหลากหลายผลกระทบและทิศทางการช่วยเหลือ
ชุมชนวิถีเมือง มีเศรษฐกิจพึ่งพาจากแรงงานรับจ้างและอาชีพอิสระ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ
รุนแรงที่สุด ชุมชนเหล่านี้ไม่มีความสามารถในการพึ่งตนเอง ความหวังเดียวคือการรอคอยความช่วยเหลือ
จากภาครัฐและสังคม และหวังว่าวิกฤติเศรษฐกิจจะผ่านไปเร็ววัน แม้มาตรการช่วยเหลือระยะสั้นเป็น
สิ่งจ าเป็น แต่หากไม่หนุนเสริมหรือเปลี่ยนผ่านให้เกิดการปรับระบบความมั่นคงอาหารและเศรษฐกิจให้
พึ่งตนเองอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนได้ ชุมชนก็เพียงแต่ได้รับการยืดอายุด ารงชีพเพียงชั่วคราว และรอรับการ
ช่วยเหลือต่อไปอย่างไร้ทางออก
ชุมชนชนบทที่มีวิถีเกษตรและแรงงานได้รับผลกระทบรองลงมา พวกเขาได้รับผลกระทบจาก
ตลาดถูกปิด รายได้หยุดชะงัก แม้พวกเขาจะยังพอพึ่งพาอาหารจากธรรมชาติและการผลิตของตนเองได้
ระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถสร้างฐานเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ทั้งแรงงานที่กลับบ้านก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะกลับมา
ช่วยเหลือชุมชน เพราะรอคอยกลับไปท างานในเมือง ชาวบ้านยังไม่สามารถหาอาชีพทดแทน ไม่มีทุนและ
ปัจจัยการผลิต หากสถานการณ์ย่ าแย่ต่อไปอีก 2-3 เดือน ฐานการยังชีพและการผลิตของชุมชนจะพังทลาย
มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐจะต้องเร่งเปลี่ยนผ่านไปสู่การสร้างความมั่นคงอาหาร การผลิตที่ยั่งยืน
การเงินชุมชนที่เข้มแข็ง และการตลาดชุมชนที่กว้างขวางขึ้น
ชุมชนที่มีฐานเศรษฐกิจพึ่งตนเองเข้มแข็ง เช่น กลุ่มที่ดูแลปกป้องฐานทรัพยากร ชุมชนที่ท า
เกษตรกรรมยั่งยืน หรือมีระบบการเงิน สวัสดิการชุมชน กลุ่มเหล่านี้แม้เป็นกลุ่มน้อย แต่เป็นกลุ่มที่ตั้งรับ
ปรับตัวได้อย่างเข้มแข็ง ผลกระทบที่มีต่อพวกเขาเป็นเรื่องการลดรายได้ แต่ไม่ได้ลดการพึ่งตนเองด้าน
อาหารและฐานเศรษฐกิจชุมชนเท่าใดนัก พวกเขาเป็นต้นแบบขยายผลไปสู่ชุมชนเมืองและชุมชนชนบทวิถี
เกษตรและเมือง แต่ก็จ าเป็นที่รัฐจะต้องมีนโยบายรองรับสนับสนุน โดยเฉพาะด้านการตลาดเพื่อสนับสนุน
การผลิตชุมชนให้มั่นคงยิ่งขึ้น
สิ่งที่ควรพิจารณานอกเหนือจากมาตรการระยะสั้นก็คือ การพัฒนาโครงสร้างเพื่อความเข้มแข็ง
ของชุมชนทั้งหมดอย่างเป็นระบบ โดยมีปัจจัยหลายประการดังนี้
การมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน โดยชุมชนเข้าถึงและจัดการได้เข้มแข็ง เพื่อให้ชุมชนต่างๆ
พึ่งพานิเวศและฐานทรัพยากรอาหาร ดังนั้นรัฐจะต้องเร่งสนับสนุนการจัดการทรัพยากรของชุมชนทั้งใน
22