Page 38 - b28783_Fulltext
P. 38

ระดับพื้นที่ และในระดับนโยบายจะต้องเร่งปรับนโยบาย กฎหมายทรัพยากรต่าง ๆ ให้ส่งเสริมการ
                  พึ่งตนเองและพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรอย่างจริงจัง พร้อมกับยกเลิกโครงการต่าง ๆ ที่จะท าลาย

                  ฐานทรัพยากรท้องถิ่น และมีมาตรการปกป้องคุ้มครองฐานทรัพยากรของชุมชนจากการรุกรานภายนอก
                           การพัฒนาฐานเศรษฐกิจชุมชนให้หลากหลาย หลายชุมชนที่อยู่รอดได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การมี
                  ฐานเศรษฐกิจที่หลากหลาย เช่น ฐานทรัพยากร การผลิต การท่องเที่ยว แรงงาน ฯลฯ จะท าให้ชุมชน
                  ปรับตัวสร้างดุลยภาพในวิกฤติเศรษฐกิจได้ดี การส่งเสริมฐานเศรษฐกิจชุมชนจึงไม่ควรเป็นไปในทิศทาง

                  เดียว
                           การเสริมสร้างระบบความมั่นคงอาหารและการผลิตของชุมชนให้พึ่งตนเองได้อย่างเข้มแข็ง
                  ปัจจัยส าคัญ ได้แก่ การพัฒนาพันธุกรรมอาหารท้องถิ่น เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น การท าสวนผักครัวเรือน การท า
                  เกษตรยั่งยืน การสร้างเสริมตลาดท้องถิ่นที่หลากหลายทั้งตลาดเชิงกายภาพและตลาดออนไลน์ และการ

                  พัฒนาผลผลิตให้สร้างมูลค่าเพิ่ม
                           การพัฒนาระบบสนับสนุนชุมชน เช่น ระบบการเงินชุมชน ระบบสวัสดิการชุมชน และระบบการ
                  เรียนรู้ของชุมชน ให้มีขีดความสามารถในการรอบรับปรับตัวของชุมชน


                        2.5 บทสรุปของชนบท และอนาคตชุมชนท้องถิ่นบนทางหลายแพร่ง

                            จากการประเมินเบื้องต้นของนักพัฒนาเอกชนในแต่ละภาคได้ข้อสรุปร่วมกัน กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่
                  ไปท างานเมืองเป็นด่านแรกที่ได้รับผลกระทบทันทีอย่างรุนแรง และก าลังกลับไปพึ่งชุมชนเหมือนวิกฤติ
                  เศรษฐกิจปี 40 แต่ชุมชนท้องถิ่นส่วนมากก าลังอยู่ในความเสี่ยงอย่างที่เคยเจอมาก่อน เกษตรกรรมเชิงเดี่ยว
                  ที่พึ่งพาตลาดส่งออกต่างประเทศโดยเฉพาะพืชผักผลไม้ก าลังจะไม่มีตลาด เศรษฐกิจชุมชนจะล้มเหลวอย่าง

                  รุนแรงยิ่งกว่าที่เคย สิ่งที่ตามมาส าหรับรอบการผลิตใหม่ก็คือภาวะภัยแล้ง การขาดแคลนน้ าอย่างรุนแรง
                  ท าให้ทั้งเกษตรเชิงเดี่ยวและเกษตรกรรมยั่งยืนก็จะประสบปัญหา ดังนั้นถึงแม้ว่า สินค้าเกษตรบางชนิด เช่น
                  ข้าว มันส าปะหลัง จะมีราคาสูงขึ้น แต่พวกเขาก็ผลิตไม่ได้
                            เมื่อตลาดขนาดใหญ่ซบเซาลง ตลาดสินค้าอาหารออนไลน์เติบโตขึ้น แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ชาวบ้าน

                  สามารถเข้าถึงและสร้างโอกาสให้กับตนเองได้มากเท่ากับธุรกิจอาหารขนาดใหญ่ อีกทั้งในระบบตลาด
                  ออนไลน์ที่เรียกร้องการผลิตจ านวนมาก สม่ าเสมอแน่นอน และต้องมีเงินทุนส ารองพอเพียง ชุมชนไม่ได้มี
                  ศักยภาพที่จะเข้าถึงและต่อรองผ่านกลไกตลาดออนไลน์หลัก ยังไม่นับรวมถึงระบบการขนส่งอาหาร เช่น
                  Grab Lineman Panda ฯลฯ ที่เหมาะส าหรับสังคมเมือง แต่ไม่สามารถเชื่อมระหว่างสินค้าชุมชนสู่

                  ผู้บริโภค นั่นเท่ากับความเหลื่อมล้ าในโครงสร้างเศรษฐกิจอาหารจะขยายตัวมากยิ่งขึ้น

                         2.5.1 การปรับตัว โอกาส และสิ่งท้าทาย
                            แรงงานที่หลั่งไหลกลับบ้านเป็นได้ทั้งแรงกดดันและปัจจัยหนุนเสริมชุมชน ในชุมชนส่วนใหญ่ที่

                  พึ่งเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวกับตลาดภายนอกอยู่ในภาวะอ่อนแอ ผลผลิตที่ไม่มีตลาด และภาวะขาดแคลนน้ าอาจ
                  ท าให้ชุมชนไม่สามารถเป็นหลังอิงให้กับลูกหลานที่ไปท างานในเมืองได้เหมือนก่อน แต่ส าหรับชุมชนที่มีฐาน
                  เข้มแข็ง ดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้คงความสมบูรณ์ จัดการดิน น้ า ป่าได้ดี และมีระบบเศรษฐกิจ การผลิต
                  ที่หลากหลาย บางที่มีฐานการเงินชุมชนที่เข้มแข็ง การกลับมาของลูกหลานคือการมาช่วยเพิ่มแรงงานการ

                  ผลิตเพื่อสร้างความมั่นคงอาหารและเศรษฐกิจได้มากยิ่งขึ้น เพราะในภาวะสังคมสูงวัยที่ภาคเกษตรขาด
                  แรงงาน เมื่อชุมชนพร้อมย่อมจะเป็นโอกาสดีที่ได้แรงงานเพิ่ม




                                                                                                       23
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43