Page 39 - b28783_Fulltext
P. 39
ในชุมชนเองก็มีการปรับตัวพอสมควร หลายพื้นที่หันกลับมาฟื้นฐานทรัพยากร การผลิต การ
บริโภคสร้างตลาดในชุมชน เกิดเป็นความมั่นคงอาหารและเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อยืนหยัดในภาวะวิกฤติ
โดยเฉพาะชุมชนที่มีระบบการจัดการทรัพยากรที่เข้มแข็ง มีเศรษฐกิจและการผลิตที่ยั่งยืนและหลากหลาย
มีฐานการเงินชุมชนสนับสนุน มีระบบตลาดท้องถิ่นสนับสนุน และมีฐานเครือข่ายทางเศรษฐกิจและสังคม
ด้านอาหารที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง พวกเขาสามารถยืนหยัดพึ่งตนเองด้านอาหารได้มาก
รองรับแรงงานกลับบ้านได้ดี แม้วิกฤติเศรษฐกิจโควิดจะท าให้รายได้ลดลง แต่ก็ไม่ท าให้ความมั่นคงอาหาร
ชุมชนสูญเสียไป
เพียงแต่ตัวอย่างของชุมชนที่เข้มแข็งมีไม่มากนัก เป็นกระบวนการสั่งสมทางภูมิปัญญาและการ
จัดการของชุมชนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เกิดเป็นต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นฐานในการแสวงหา
ค าตอบถึงทิศทางอนาคตที่พึงประสงค์ของชุมชนได้ แต่ต้นแบบเหล่านี้มักถูกรัฐและสังคมเพิกเฉยที่จะน ามา
ขยายผลส่งเสริมอย่างจริงจัง
2.5.2 โอกาสของชุมชนทางเลือก กับโลกที่เปลี่ยนไป
บทเรียนหลายครั้งที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจการเมือง หากโครงสร้างอ านาจน ายังเป็นเช่นเดิม วิกฤติ
ดังกล่าวก็อาจไม่น ามาสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน ดังที่พิเชษฐ์สะท้อนว่า เมื่อตอนเกิดสึนามิปี
2549 ที่คลื่นยักษ์กวาดเอาชีวิต บ้านเรือน พื้นที่ท ากินของชุมชน ธุรกิจท่องเที่ยวริมฝั่งทะเลเสียหาย แต่
กระบวนการฟื้นฟูกลับไปหาจุดเดิมที่เป็นต้นเหตุปัญหา เกิดธุรกิจท่องเที่ยวแบบเดิม กระบวนตักตวงแย่งชิง
ทรัพยากรธรรมชาติจากชุมชนเป็นเช่นเดิม สึนามิที่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกลับไม่ได้
เปลี่ยนแปลงแนวคิด โครงสร้าง และความสัมพันธ์ในการใช้ทรัพยากรและการผลิตที่เหลื่อมล้ าไม่เป็นธรรม
เลย
เช่นเดียวกับมนตรี จันทวงศ์ นักพัฒนาจากเชียงใหม่ที่สะท้อนว่า ในวิกฤติเศรษฐกิจ รัฐบาลจะเร่ง
อัดฉีดงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เร่งผลักดันโครงการขนาดใหญ่เพื่อหวังกู้เศรษฐกิจ โครงการจ านวน
มากเป็นโครงการที่ยิ่งท าลายฐานทรัพยากรธรรมชาติ และเศรษฐกิจชุมชน เช่น โครงการสร้างเขื่อน
โรงไฟฟ้า อุตสาหกรรม ฯลฯ ชุมชน ซึ่งโครงการจ านวนมากมีผลประโยชน์ผูกพันมากกว่าจะมุ่งสร้างความ
เข้มแข็งชุมชน
สอดคล้องกับ อ.โอฬาร อ่องฬะ นักวิชาการจากเชียงใหม่ที่ห่วงใยว่า รัฐจะยิ่งใช้ทรัพยากรอย่าง
หนักหน่วงขึ้นเพื่อทดแทนการสูญเสียวิกฤติ ชุมชนจะถูกปิดกั้นและถูกควบคุมการเข้าถึงทรัพยากร ดัง
ในขณะที่ชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ถูกกดดันจากนโยบายการจัดการป่าของรัฐ
ข้อสังเกตของนักพัฒนาและนักวิชาการเหล่านี้บ่งบอกว่า แม้จะเกิดวิกฤติอย่างรุนแรง แต่การจะ
เปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนได้นั้นยังต้องเผชิญสิ่งท้าทายส าคัญจาก
กระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐและภาคทุนที่อาจฉุดรั้งอยู่ที่เดิม ยังไม่มีหลักประกันที่ชัดเจนนัก “ภาวะ
ปรกติใหม่” จะเป็นสิ่งที่ชุมชนปรารถนา หากไม่มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง
ณ จังหวะนี้ ทั้งภาคชุมชนและภาครัฐจะต้องเร่งปรับความคิดและทิศทางการพัฒนาโดยด่วน
ส าหรับชุมชน การหวังว่าวิกฤติเศรษฐกิจจะหายไปเร็ววันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก การรอคอยการช่วยเหลือ
จากรัฐเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยให้ชุมชนอยู่รอดได้ ในขณะที่โครงการช่วยเหลือต่างๆ ที่ก าลังหลั่งไหล
ลงมาอาจไม่ได้มาหนุนเสริมชุมชนอย่างแท้จริงหากปราศจากข้อมูล ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของ
ชุมชน
24