Page 35 - b28783_Fulltext
P. 35
เรือและเครื่องมือประมงเป็นปัจจัยส าคัญที่เคยถูกจัดสรรโดยแพปลา แต่ในยามนี้แพปลาปิดตัวลง
ชาวบ้านขาดการเข้าถึงทุนและเครื่องมือในการท าประมง การกลับหาสร้างรายได้จากฐานทรัพยากรไม่ใช่
เรื่องง่าย จึงต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ จะมีก็แต่ชุมชนบางแห่งที่มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน ที่ยัง
รักษาฐานความมั่นคงอาหารไว้อย่างเข้มแข็ง แต่พวกเขาก็เริ่มเผชิญปัญหาเมื่อมีคนภายนอกเข้ามาใช้
ทรัพยากรในพื้นที่ป่าชายเลนและทะเลชายฝั่งที่พวกเขาดูแล ระบบการจัดการทรัพยากรร่วมของท้องถิ่น
ก าลังเผชิญการท้าทายว่าจะรักษาสิทธิชุมชนต่อการจัดการทรัพยากรให้เข้มแข็งต่อไปได้เพียงใด
ชุมชนที่นี่ยังมีฐานเศรษฐกิจจากกลุ่มออมทรัพย์ที่สามารถรองรับวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับ
ชุมชนได้ แต่ชุมชนจะยืนหยัดได้นานแค่ไหน พิเชษฐ์ชี้ว่า ผลกระทบขณะนี้ยังเป็นระยะเริ่มต้น ยังคาดการณ์
ไม่ได้ว่าจะต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นในเพียงใด แต่เขาได้เห็นบทเรียนว่า รูปแบบเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว การผลิต
เชิงเดี่ยว ความมั่นคงอาหารเชิงเดี่ยว ฯลฯ ไม่สามารถไปรอดได้ การสร้างจุดเปลี่ยนผ่านสู่ชุมชนคือการต้อง
เสริมสร้างฐานทรัพยากรให้สมบูรณ์ สร้างทางเลือกเศรษฐกิจที่หลากหลาย พัฒนาตลาดท้องถิ่น และออม
ทรัพย์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น จึงจะท าให้ชุมชนยืนหยัดอยู่ในภาวะวิกฤติ
ชุมชนพยายามปรับตัวเข้าถึงตลาดทุกช่องทาง ใช้ช่องทางสื่อสารของทางการ เช่น Facebook
ของเทศบาลขายของ ใช้กลุ่ม line หรือ Facebook ของชุมชนหาลูกค้า ท าให้เกิดตลาดท้องถิ่นออนไลน์ที่
คึกคักมากขึ้น เสริมกับตลาดนัดท้องถิ่นที่มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน นั่นจึงเป็นเหตุผล
ว่าท าไมชาวบ้านป่าคลอกจึงคัดค้านกรณีที่ภาครัฐจะปิดตลาดนัดชุมชน
ในวิกฤติได้บ่งชี้ว่า ชุมชนชายฝั่งที่มีระบบการจัดการทรัพยากรที่เข้มแข็ง ยังเป็นที่พึ่งพิงของผู้คน
ทั้งในชุมชนและนอกชุมชนได้ บางชุมชนเริ่มหันกลับมาปลูกผัก ปลูกสวนเพื่อบริโภคมากขึ้น บางชุมชนที่มี
กลุ่มออมทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ เกื้อหนุนสมาชิกยามตกยากได้ดี และยังเป็นฐานให้ชุมชนปรับตัวที่เข้มแข็ง
และการมีตลาดท้องถิ่นที่ท าหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ยังช่วยให้เติมรายได้ให้ชุมชนอยู่ได้ เพราะการจัดสรร
อาหารและเศรษฐกิจในท้องถิ่นจะเป็นค าตอบที่เป็นจริงมากกว่าการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนกับแดนไกล
แม้เศรษฐกิจท่องเที่ยวจะยังไม่ฟื้นเร็ววันดังที่ชาวบ้านคาดหวัง แต่การที่บางชุมชนมีหลาย
ฐานเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็งทั้งทรัพยากรชายฝั่ง ความมั่นคงอาหารในครัวเรือนและชุมชน กลุ่มออม
ทรัพย์ และมีตลาดชุมชนที่ท าหน้าที่ได้ดี ย่อมบ่งชี้ได้ว่า ทิศทางการกอบกู้ชุมชนชายฝั่งจากวิกฤติโควิดควร
เป็นเช่นไร
สิ่งที่ท้าทายคือ การรุกกลับของโครงการขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชนในนามของการฟื้นฟู
เศรษฐกิจการท่องเที่ยวและอื่นๆ เช่น ธุรกิจโรงแรม ท่าเรือ ฯลฯ ที่จะท าลายฐานของชุมชน นโยบายการ
สนับสนุนชุมชนจึงต้องรวมถึงการปกป้องฐานทรัพยากรและฐานด ารงชีพความมั่นคงอาหารของชุมชนให้คง
อยู่และท าหน้าที่บริการทางนิเวศ เศรษฐกิจ สังคมให้ชุมชนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และการก าหนดทิศทาง
ท่องเที่ยวใหม่ให้เกิดความยั่งยืนและเป็นธรรมเพื่อให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง
20