Page 30 - b28783_Fulltext
P. 30

ตัวอย่างของชุมชนมหาสารคามบ่งบอกถึงความหวังที่มาจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจได้เป็น
                  อย่างดี ส าหรับครัวเรือนที่มีฐานการเกษตร ผลิตอาหารบริโภคได้ ยิ่งโดยเฉพาะครัวเรือนที่ท าเกษตรยั่งยืน

                  ไม่มีต้นทุนเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และสารเคมี แม้รายได้พวกเขาจะลดลงแต่ก็อยู่ได้ไม่ล าบากนัก หรือกระทั่ง
                  ครัวเรือนที่ท าเกษตรทั่วไปที่ประสบภาวะต้นทุนการผลิตสูงและล าบากกว่ากลุ่มเกษตรยั่งยืน แต่อย่างไรเสีย
                  พวกเขายังมีฐานการผลิตเพื่อกินเพื่อขายอยู่ แรงงานที่ไปท างานในเมืองตามช่วงฤดูก็ยังมีหลังอิง จะมีก็แต่
                  ครัวเรือนที่เป็นแรงงานหรืออาชีพที่ไม่มีฐานการผลิต พวกเขาล าบากที่สุด ทางออกเดียวที่คิดได้คือ รอคอย

                  การช่วยเหลือจากรัฐ เพราะการหาทางออกอื่นเป็นไปได้ยากในภาวะไม่มีตลาด
                           กลไกท้องถิ่นที่พอจุนเจือได้คือ ตลาดท้องถิ่น รวมถึงตลาดนัดอาหารอินทรีย์ (ตลาดเขียว) ที่ยัง
                  ท าหน้าที่กระจายผลผลิตและรายได้ ชุมชนจึงต้องรักษาตลาดเอาไว้ให้ได้ ด้วยการปรับกฎระเบียบ
                  มาตรการให้มีความเข้มงวด จัดระยะห่าง ตรวจวัดผู้เข้าตลาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

                           วิกฤติโควิดคราวนี้ท าให้เกษตรกรรวมไปถึงคนเมืองที่มหาสารคามหันมาสนใจการพึ่งตนเองด้าน
                  อาหารในครัวเรือนและชุมชนมากขึ้น กลับมาหาและบริโภคอาหารตามธรรมชาติ เช่น ไข่มดแดง ผักตาม
                  ธรรมชาติ มีหลายรายที่หันมาสนใจเข้ากลุ่มเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก แต่ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า
                  ชุมชนส่วนใหญ่จะปรับตัวมาสู่วิถีเกษตรกรรมยั่งยืน เพราะส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าจะกลับคืนสู่ปรกติอีกไม่นาน

                  และยังขึ้นอยู่กับมาตรการช่วยเหลือของรัฐว่าจะส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการพึ่งตนเองด้านอาหารและท า
                  เกษตรยั่งยืนหรือไม่
                           ประมาณการว่า ร้อยละ 30 ของครัวเรือนในมหาสารคามพึ่งพาเศรษฐกิจแรงาน พวกเขาจึงได้รับ

                  ผลกระทบจากวิกฤติโควิดไม่น้อย แต่อีกร้อยละ 50 มีฐานเศรษฐกิจการผลิตเกษตรที่บ้าน ผลกระทบจึงไม่
                  มากเท่า บางครอบครัวที่ท าการผลิตกลับได้โอกาสดีเมื่อได้แรงงานมาช่วยท านาท าไร่มากขึ้นจากลูกหลานที่
                  กลับบ้าน คนกลุ่มนี้จึงไม่ล าบากนัก ส่วนกลุ่มที่ลูกหลานยังไม่แน่นอนว่าจะกลับบ้านเมื่อไหร่ หรือไม่กลับ
                  เลยก็ขาดแคลนแรงงานการผลิต
                           คุณสุเมธ ปานจ าลอง นักพัฒนาด้านเกษตรกรรมยั่งยืนเสนอว่า นอกเหนือจากการแจกเงินคนละ

                  5,000 บาทที่รัฐบาลท า รัฐบาลควรที่จะมีโครงการสนับสนุนให้แรงงานที่กลับบ้านให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่
                  กลับมาท าเกษตรกรรมยั่งยืนในครอบครัวและชุมชน เพราะเกษตรกรรมยั่งยืนก าลังเป็นค าตอบของการ
                  เปลี่ยนผ่านสังคม ดังรูปธรรมที่ปรากฏชัดว่า ในขณะนี้ เครือข่ายเกษตรกรที่ท าเกษตรอินทรีย์สามารถยืน

                  หยัดผลิตสร้างความมั่นคงอาหารในระดับครัวเรือนและชุมชนไว้ได้ ส่วนหนึ่งได้มีปัจจัยเอื้ออ านวยจากที่
                  มหาสารคามไม่ได้เจอวิกฤติขาดแคลนน้ าเหมือนจังหวัดอื่น ๆ แต่ที่ส าคัญคือ เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนได้
                  สร้างฐานความมั่นคงอาหารของครัวเรือนและชุมชนที่เข้มแข็ง และเชื่อมโยงระบบการผลิต การกระจาย
                  อาหารผ่านตลาด “สีเขียว” ทั้งในท้องถิ่นและในเมือง และเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้ตรง แม้เศรษฐกิจจะตกต่ า

                  จากโควิด แต่กลไกความมั่นคงอาหารของท้องถิ่นยังคงท างานอย่างเข้มแข็ง
                           แต่กระนั้นก็มีสิ่งที่ชุมชนต้องหาทางปรับตัว เพราะการกระจายอาหารจากชุมชนสู่เมือง
                  จ าเป็นต้องมีระบบการจัดการที่ชัดเจน ระบบการสั่งอาหารล่วงหน้าของผู้บริโภคได้เรียกร้องให้เกษตรกรที่
                  ท าการผลิตที่มีปริมาณและชนิดผลผลิตที่แน่นอนสม่ าเสมอ แต่ปัญหาการผลิตภาคเกษตรขาดความแน่นอน

                  ทั้งด้านสภาพแวดล้อม ทรัพยากรกร และการพัฒนาตลาดอาหารท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจึง
                  เป็นสิ่งที่ท้าทาย ที่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามาช่วยกันพัฒนา
                         คุณมาลี สุปันตี เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกอีสานได้เสนอเพิ่มเติมว่า การมีพื้นที่และระบบ
                   ตลาดท้องถิ่นที่มั่นคงมีความส าคัญ ในภาวะวิกฤติโควิด เทศบาลปิดตลาดไปหลายแห่ง และเมื่อเกษตรกร

                   ต้องหาทางเชื่อมโยงกับผู้บริโภคโดยไม่ผ่านตลาดในเชิงกายภาพ การพึ่งตลาดออนไลน์ก็ต้องอาศัยกลไก


                                                                                                       15
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35