Page 29 - b28783_Fulltext
P. 29

ผ่านๆ มา เกษตรกรก็ต้องเผชิญปัญหาราคาล าไยและผลไม้ต่างๆ ตกต่ าต่อเนื่อง แต่ในปีนี้เมื่อตลาดใหญ่คือ
                  จีนหยุดชะงัก ผลไม้ปริมาณมหาศาลที่ไม่มีตลาดจะท าให้วิกฤติเศรษฐกิจของเกษตรกรรุนแรง

                           แม้จะมีผลผลิตการเกษตรอื่น ๆ ที่มีรายได้ดี เช่น ข้าว มันส าปะหลัง (ท าแอลกอฮอล์) จะมีราคา
                  ขายสูงขึ้น แต่โอกาสนั้นก็ไม่ได้ตกสู่ชาวบ้าน เพราะพวกเขาก าลังเจอวิกฤติขาดแคลนน้ าครั้งใหญ่ ท าให้ท า
                  การเกษตรไม่ได้
                           ในวิกฤติเศรษฐกิจโควิด ธุรกิจออนไลน์ได้เฟื่องฟู สร้างรายได้นับแสนบาทให้กับผู้ขาย ผู้ส่งของ

                  จากบริการออนไลน์ เศรษฐกิจออนไลน์ไม่ได้จ ากัดเฉพาะเชียงใหม่แต่เชื่อมไปถึงจังหวัดใกล้เคียงอื่น ๆ แต่ผู้
                  ที่จะค้าขายออนไลน์ได้ต้องมีเงินทุนส ารองเพียงพอ ยากที่เกษตรกร หรือคนจนเมืองจะเข้าถึงตลาดในฐานะ
                  ผู้ค้าได้ จึงยากที่ชุมชนจะได้โอกาสจากธุรกิจอาหารออนไลน์ที่จะตกอยู่ในการควบคุมของธุรกิจอาหารและ
                  การขนส่งรายใหญ่


                        2.4.3 นครสวรรค์ ทางสองแพร่งของสายน้ าการเกษตร
                           นครสวรรค์เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคกลางตอนบน เป็นแหล่งผลิตข้าวรายใหญ่ของภาค แต่
                  ตลาดที่ซบเซาลงก าลังท าให้เกษตรกรไม่มีที่ขายผลผลิต ประจวบกับแม้ข้าวจะมีราคาดี แต่ภาวะภัยแล้ง

                  บวกกับตลาดซบเซา ท าให้อุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตรกรตกต่ าลงทั้งสองด้าน อาชีพที่ยังพอไปได้คือ
                  แรงงานก่อสร้าง ที่ยังมีงานแม้จะลดลงก็ตาม
                           แต่ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ คุณนพดล มั่นศักดิ์ มูลนิธิจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียน

                  ชาวนา จังหวัดนครสวรรค์ ชี้ว่า ได้เห็นโอกาสที่จะเป็นจุดเปลี่ยนอนาคตเกษตรกรได้มากขึ้น กลุ่มเกษตรกร
                  ที่ท าการผลิตอาหารอินทรีย์ที่มีการจัดการที่ดี เช่น จัดการระบบธนาคารน้ า จัดการผลิตที่ไม่ต้องมีต้นทุน
                  สารเคมี มีระบบมาตรฐานที่ชุมชนมีส่วนร่วมรับรอง (PGS) ผลิตเพื่อบริโภคควบคู่ไปกับการค้า และสร้าง
                  ตลาด “สีเขียว” เชื่อมโยงกับผู้บริโภคในจังหวัด กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์เหล่านี้กลับได้รับผลกระทบทาง
                  เศรษฐกิจไม่มากนัก และก าลังมีบทบาทสร้างความมั่นคงอาหารให้กับชุมชนและเมืองในภาวะวิกฤติเช่นนี้

                  แต่กระนั้นกลุ่มเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยเหล่านี้ยังเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่เกษตรกรส่วนมากที่พึ่งพา
                  กับเกษตรพาณิชย์เชิงเดี่ยวยังไร้ทางออกทั้งเรื่องตลาดและน้ า ซึ่งหากไม่สามารถปรับเปลี่ยนมาท าเกษตร
                  อินทรีย์หรือเกษตรยั่งยืนได้ ก็ยากจะที่ยืนหยัดในวิกฤติเศรษฐกิจได้

                           นอกจากนี้ วิกฤติยังสร้างจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจบางประการ ชาวบ้านหลายรายเริ่มลดการปลูกอ้อย
                  เพราะขาดทุน นั่นอาจท าให้เป็นโอกาสการเปลี่ยนพื้นที่อ้อยเป็นพื้นที่อาหาร และยังลดปัญหาการเผาอ้อยที่
                  สร้างฝุ่นควัน pm 2.5 ลงได้


                        2.4.5 มหาสารคาม ฐานเกษตรยั่งยืนที่ตั้งรับภัยเศรษฐกิจได้เข้มแข็ง
                           มหาสารคามดินแดนแห่งตักศิลา ชีวิตที่ถูกปิดการเคลื่อนย้ายเปิดโอกาสให้พ่อแม่ได้อยู่กับลูก
                  ตลอดเวลา แต่เดิมเด็กพอเริ่มโตจะถูกส่งไปเรียนในเมือง เวลาสร้างสัมพันธ์พ่อแม่ลูกอาจจะไม่มากนัก แต่
                  พอต้องปิดเทอมยาวอย่างไร้ก าหนด ลูกหลานกลับสู่ชุมชน พ่อแม่ก็ไม่มีงานท า ต้องอยู่เฝ้าลูก มองจากคน

                  นอกอาจคิดว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะกระชับความสัมพันธ์สร้างความอบอุ่นในครอบครัว แต่มุมองของพ่อแม่
                  กลับกลายเป็นว่า พ่อแม่ต้องเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายทั้งค่าอินเทอร์เน็ตมือถือ เนื่องจากเด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นมือ
                  ถือทั้งวัน และค่าอาหารที่เพิ่มขึ้น เพราะเด็กๆ ไม่บริโภคอาหารพื้นถิ่นอย่างพ่อแม่ ภาวะที่รายได้ก็ไม่มี
                  รายจ่ายก็เพิ่มขึ้น กลายเป็นความเครียดสะสม





                                                                                                       14
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34