Page 26 - b28783_Fulltext
P. 26
2.3 รายงานการศึกษาผลกระทบจากภาวะโรคระบาด COVID 19 จาก
องค์กรต่าง ๆ
(1) รายงานครัวเรือนเกษตรไทยในวิกฤติโควิด-19: หลักฐานเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์
เกษตรกรทั่วประเทศ โดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์
(2) รายงานเมื่อโควิด-19 ปิดเมือง: ผลกระทบต่อแรงงานไทยในมิติ supply-side: หลากมิติของ
ความเสี่ยงที่ตรลาดแรงงานไทยต้องเผชิญ โดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์
(3) รายงานการวิเคราะห์ผลการส ารวจแนวทางการจัดระบบสวัสดิการสังคมเพื่อรองรับ
ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้โครงการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนเพื่อ
ผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงระบบรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน โดยเครือข่ายประชาชน
เพื่อรัฐสวัสดิการ
(4) รายงานผลกระทบโควิดกับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 6 ปี) โดยส านักงานสถิติ
แห่งชาติ ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและ UNICEF
2.4 ผลการสัมภาษณ์นักพัฒนาเอกชนที่ท างานคลุกคลีกับชุมชนในทุกภาค
วิกฤติจากการระบาดของไวรัสโควิดก าลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และ
การเมืองของโลกและประเทศไทยอย่างถึงรากถึงโคน ส าหรับประเทศไทยระบบเศรษฐกิจฐานรากถูก
สั่นคลอน เพียงแค่ในระยะเริ่มต้นแรงงานในภาคผลิตและบริการตกงานไม่ต่ ากว่า 7 ล้านคน จะมีคนจน
เกิดขึ้นเป็นจ านวนมาก ภาครัฐก าลังอัดฉีดเม็ดเงินครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นโยบายเศรษฐกิจด้วย
วงเงินร้อยละ 10 ของจีดีพี รูปธรรมเริ่มต้นด้วยการให้เงินช่วยเหลือประชาชนรายละ 5,000 บาท ตามด้วย
มาตรการอื่น ๆ เช่น ศูนย์รับรองคนไร้บ้าน และอื่น ๆ
ภาคส่วนต่างๆ ก าลังคาดการณ์อนาคต เทคโนแครตทางเศรษฐกิจภาครัฐและเอกชนยังคงวาด
หวังว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวและเดินตามวิถีทุนนิยมเสรีแบบเดิม โดยมองว่าวิกฤติโควิดเป็นภาวะ
“ยกเว้น” ชั่วคราวเท่านั้น แต่หลายฝ่ายเริ่มตระหนักแล้วว่าโลกจะไม่เหมือนเดิม เพราะทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ
เศรษฐกิจตกต่ าอย่างรุนแรงจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ เช่น เปลี่ยนศูนย์อ านาจทางเศรษฐกิจ
การเมือง เปลี่ยนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคม เปลี่ยนวิถีชีวิตวัฒนธรรม และอื่นๆ ซึ่งเป็น
กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องยาวนาน
ภาวะ “ปรกติใหม่” (New Normal) ที่ทั่วโลกก าลังกล่าวถึงจึงไม่ใช่แค่การเปลี่ยนทัศนคติ
พฤติกรรม และความสัมพันธ์ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่คือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
โครงสร้าง และแบบแนวทางสังคมครั้งใหม่ การจะท าความเข้าใจและออกแบบโลกใหม่ได้นั้น ต้องอาศัย
ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจต่อสถานการณ์ของสังคมอย่างถ่องแท้ ซึ่งดูเหมือนแวดวงนโยบายและวิชาการใน
ขณะนี้จะมุ่งเป้าไปที่การฟื้นตัวเลข กู้จีดีพี พยุงเศรษฐกิจมหภาค อัดฉีดโครงการประชานิยมเข้าไป (ซึ่งก็
สมควรในภาวะฉุกเฉิน) แต่ส าหรับในภาคชุมชนท้องถิ่นชนบทแล้ว ยังไม่มีการท าความเข้าใจกันถ่องแท้ว่า
ชุมชนก าลังเผชิญอะไรในวิกฤติโควิด พวกเขาตั้งรับปรับตัวอย่างไร ภาวะปรกติใหม่ของชุมชนจะเป็น
อย่างไร และพวกเขาจะมีส่วนก าหนดอนาคตข้างหน้าได้เพียงไหน
ค าถามเหล่านี้ยังไม่มีใครตอบได้ชัดเจน แต่เราก็เริ่มเห็นองค์กรสังคมทั้งรัฐและเอกชนพากันท า
โครงการพัฒนาชุมชนกันฝุ่นตลบด้วยงานเชิงสงเคราะห์ งานแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยกรอบคิด
ประสบการณ์เดิม โมเดลเดิม ๆ ที่อาจจะไม่สอดรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่จะเกิดขึ้น
11