Page 22 - b28783_Fulltext
P. 22
บทที่ 2 สถานการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากภาวะโรคระบาด
COVID-19 โควิดต่อสังคมไทย
2.1 สถานการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากภาวะโรค
ระบาด COVID 19
นโยบายยับยั้งและแก้ไขภาวะโรคระบาด COVID-19 ตั้งแต่การปิดเมือง (lock down) หรือการ
ปิดพื้นที่ที่เป็นแหล่งรวมตัวของคนจ านวนมาก การงดการเคลื่อนย้ายคนทั้งในและระหว่างประเทศ ซึ่งรวม
ไปถึงการห้ามนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ฯลฯ ได้ส่งผลกระทบหลากหลาย
ลักษณะ อาทิ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ ประชาชนลดการออกนอกบ้าน การชะลอตัวของ
เศรษฐกิจ อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น การศึกษาของเด็กและเยาวชนต้องปรับให้เข้ากับการรักษาระยะห่าง
ทางสังคม จึงมีการปิด สถานศึกษาไปขณะหนึ่ง และการปรับการจัดการเรียนการสอนใหม่ให้เหมาะสมกับ
สภาพบริบทของผู้เรียน
ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรงโดยเฉพาะภาคการผลิต ภาคการท่องเที่ยว ภาคการค้าชายแดน
ส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช.ประเมินว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ
(GDP) ทั้งปี 2563 จะติดลบ (-6.0%) – (-5.0%) สืบเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด 19 และปัจจัยจาก
การปรับตัวลดลงรุนแรงของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกท าให้มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยปรับตัว
ลดลง 8% โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องพึ่งพาการน าเข้าจากประเทศจีน ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็น
โรงงานการผลิตของโลก (The World’s Factory) ซึ่งเมื่อภาคอุตสาหกรรมในประเทศจีนจ าเป็นต้องหยุด
การผลิตในโรงงานแล้ว ย่อมกระทบกับยอดการผลิตและการส่งออกจากภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก
โดยเฉพาะกับประเทศก าลังพัฒนาอย่างประเทศไทยที่ระบบเศรษฐกิจจ าต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศ
เป็นส าคัญ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ การลดลงรุนแรงของจ านวนและรายได้
จากนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงร้อยละ 38.0 และ ปัญหาภัยแล้งส่งผลกระทบต่อผลผลิตและรายได้ภาค
10
เกษตร คาดว่าประเทศไทยจะสูญเสียนักท่องเที่ยวราว 5 ล้านคน สูญเสียรายได้กว่า 2.5 แสนล้านบาท
คิดเป็นมูลค่าร้อยละ 1.5 ของ GDP และอาจฉุดอัตราการเติบโตของ GDP ไทยลงจากที่คาดไว้ตอนต้นปี
2563 ที่ร้อยละ 2.8 เหลือเพียงร้อยละ 1.3 ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 27 ของ
นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เข้ามาในประเทศ
11
สถานการณ์การว่างงาน ผู้ว่างงานมีจ านวนทั้งสิ้น 0.75 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ
1.95 เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราการว่างงานในช่วงปกติ สาเหตุที่ว่างงานเกิดจากสถานที่ท างาน เลิก/หยุด/ปิด
กิจการหรือหมดสัญญาจ้าง โดยเฉพาะสาขาค้าปลีก ค้าส่งและซ่อมบ ารุง และสาขาบริการที่พักแรมและ
บริการด้านอาหารได้แก่ สาขาการก่อสร้างและบริการก่อสร้าง สาขาบริการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
สาขาบริการทางการเงินและประกันภัย สาขาบริการทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค และสาขา
12
บริการบริหารและสนับสนุน และผู้จบการศึกษาใหม่ในปี 2563 ที่ก าลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน 0.52 ล้าน
คน มีแนวโน้มจะหางานท าได้ยากขึ้น หรืออาจต้องใช้ระยะเวลาในการหางานนานกว่าปกติ ส่งผลให้ความ
10 อ้างอิงข้อมูลจาก https://ismed.or.th/SPR250563.php
11 อ้างอิงข้อมูลจาก กองความมั่นคงระหว่างประเทศ ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ บทความจากวารสารมุมมองความมั่นคง ฉบับที่ 4 (มิ.ย.–ก.ย. 63)
http://www.nsc.go.th/?p=6974
12 อ้างอิงข้อมูลจาก https://tdri.or.th/2020/09/services-sectors-affected-by-the-covid-19/
7