Page 18 - b28783_Fulltext
P. 18

ศูนย์กลางและมีหน่วยงานต่างๆ จากส่วนกลางช่วยหนุนเสริม เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลและป้องกัน

                   ตัวเองได้นั้นขยายความร่วมมือสร้าง ‘พลเมืองตื่นรู้’ รองรับการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน-ระยะฟื้นฟู-ระยะ
                      8
                   ยาว

                           ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องมีการวิจัยเพื่อการประเมินผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อ
                   ภาวะโรคระบาด COVID 19 นอกจากพื้นที่เมือง และครอบคลุมชุมชนท้องถิ่นที่นอกเหนือไปจากชุมชน

                   ท้องถิ่นที่มีศักยภาพสูงและความพร้อมในการพัฒนาเท่านั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อผลกระทบและการ
                   ปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่ของประเทศ รับทราบถึงประสิทธิผลของการเยียวยาจากมาตรการ
                   ต่างๆ ที่ภาครัฐก าลังด าเนินการในปัจจุบัน รวมทั้งแนวทางการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นที่มีความยั่งยืน
                   และแก้ไขปัญหาพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริงอีกด้วย

                           โครงการฯ นี้ภาคีส าคัญท างานร่วมกันคือ มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ที่
                   จะมีพื้นที่ศึกษากลุ่มเกษตรกรและชุมชนฐานความมั่นคงอาหารและเกษตรกรรมยั่งยืน และยังร่วมกับ รศ.
                   ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะท าการศึกษาเชิงปริมาณในระดับ
                   ครัวเรือนด้วย


                        1.2  วัตถุประสงค์

                           งานวิจัยนี้มีเป้าหมายในการศึกษาครอบคลุมวัตถุประสงค์ 3 เรื่อง ได้แก่
                           (1) ศึกษาถึงความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด
                  COVID 19 รวมทั้งประสิทธิผลของการเยียวยาจากมาตรการต่าง ๆ ที่ภาครัฐก าลังด าเนินการในปัจจุบัน ต่อ

                  การปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น
                           (2) เสนอแนะแนวทางการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นที่มีความยั่งยืนและแก้ไขปัญหาพื้นฐานของ
                  ชุมชนท้องถิ่น โดยผลการวิจัยจากชุมชนท้องถิ่น ศึกษาเปรียบเทียบการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นจากภาวะ
                  โรคระบาดที่ผ่านมาทั้งในประเทศและต่างประเทศ และรวมรวบความคิดเห็นจากนักวิชาการและ

                  ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ


                        1.3  ขอบเขตการวิจัย

                           พัฒนาเครื่องมือและระเบียบวิธีวิจัยและจัดท าการประเมินความเสียหาย  ผลกระทบและการ

                  ปรับ ตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19 ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมทั้งระดับ
                  ครอบครัวและชุมชน โดยประยุกต์จากการประเมินความเสียหายและผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติและความ
                  ต้องการ (Disaster Damage and Needs Assessment) เช่น อุทกภัย ดินโคลนถล่ม และโรคอุบัติใหม่
                  เช่น ไข้หวัดนก โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือ โรคซาร์ส์ (Severe Acute Respiratory
                  Syndrome - SARS) แบบมีส่วนร่วมของผู้ที่ได้รับความเสียหาย ไม่ใช่โดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งมีประโยชน์

                  ในการระบุ คาดการณ์ และจัดล าดับความรุนแรงของความเสี่ยงจากภัยพิบัติในชุมชน ช่วยก าหนดนโยบาย
                  แนวทางที่เหมาะสมในการลดความเสี่ยง และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ





                  8  อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/63445
                                                                                                         3
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23