Page 23 - b28783_Fulltext
P. 23
ต้องการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ปรับตัวลดลง จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมค้าปลีก ซึ่งส่วน
หนึ่งก็เป็นผลมาจากมาตรการต่าง ๆ ทางสาธารณสุขที่ภาครัฐออกมาเพื่อควบคุมโรคระบาด เช่น การเว้น
ระยะห่างทางสังคมรวมถึงความต้องการสินเชื่อของครัวเรือนในเกือบทุกประเภท สัดส่วนหนี้สินครัวเรือน
13
ต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 80.1 สูงสุดในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสสอง ปี 2559
ผลกระทบทางสังคม ด้านไตรมาสสอง ปี 2563 มีผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังรวม 53,756 ราย ลดลง
จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอย่างมากถึงร้อยละ 66.5 ซึ่งเป็นการลดลงในทุกโรค การบริโภคเครื่องดื่ม
14
แอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลง คดีอาญารวมลดลง การเกิดอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตลดลง ในช่วง 4 เดือนแรก
ของปี 2563 จ านวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายจากระบบรายงานการเฝ้าระวังการท าร้ายตนเองของกรม
สุขภาพ จิต (รง506s ) พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากฆ่าตัวตายยังคงมีค่าใกล้เคียงกับในช่วงปีที่ผ่านมา
(อัตรา 2.1 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน) อาจอธิบายได้ว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจแม้จะมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ใน
15
ขณะเดียวกันปัญหาความสัมพันธ์และการดื่มสุราที่น ามาสู่การฆ่าตัวตายกลับมีแนวโน้มลดลง
ดังนั้นจึงส่งผลต่อการด าเนินวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะการเพิ่มบทบาทด้าน
เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Transformation) ต่อการด าเนินธุรกิจเพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่
16
เปลี่ยนแปลง เช่น การซื้อสินค้าออนไลน์ การแพทย์ทางไกล การศึกษาออนไลน์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
จากข้อมูลการร้องเรียนผ่านกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม
2563 ปัญหาทางออนไลน์ที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือปัญหาจากการซื้อขายทาง ออนไลน์ โดยเฉพาะสินค้า
17
แฟชั่นและอุปกรณ์ไอที
ในด้านระบบการคุ้มครองทางสังคมแม้ว่าแรงงานที่มีประกันสังคมตามมาตรา 39 และมาตรา 40
แต่ยังขาดสิทธิประโยชน์จากการว่างงานหรือการสูญเสียรายได้จากการท างาน ท าให้เมื่อได้รับผลกระทบ
ทางเศรษฐกิจจากโรคระบาดโควิด 19 จึงจ าเป็นต้องพึ่งรัฐสวัสดิการ ส่วนแรงงานนอกระบบสมัครเข้าเป็น
ผู้ประกัน ตนมาตรา 39 และ 40 จ านวนเพียง 4.8 ล้านคน หรือเป็น 1 ใน 5 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด
จึงท าให้ไม่สามารถเข้าถึงระบบการคุ้มครองทางสังคมได้ด้วย
18
ด้านการศึกษากลุ่มนักเรียนที่ได้รับ ผลกระทบมากที่สุดจากการหลุดออกจากระบบห้องเรียนคือ
นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประมาณ 11.47 ล้านคน ปรากฏการณ์ความรู้ที่ถดถอยไปหลังจาก
ปิดเทอมใหญ่ และยังพบการที่เด็กไม่ได้ไปโรงเรียนประมาณ 6 สัปดาห์ อาจท าให้ความรู้หายไปถึงครึ่งปี
การศึกษา ประกอบกับความไม่พร้อมของการจัดการเรียนการสอนทางไกล ทั้งจากด้านสภาพแวดล้อมใน
การเรียนรู้นอกห้องเรียน และ การที่ต้องรับภาระในการจัดหาอุปกรณ์ในการเรียนรู้ โดยเฉพาะในกลุ่ม
ครัวเรือนยากจน รวมถึงการเข้าถึง สัญญาณอินเทอร์เน็ต และความเสถียรและความเร็วของอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้เด็กบางส่วนไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะนักเรียนในกลุ่มครัวเรือนยากจนซึ่งจะ
ไม่ได้รับอาหารและอาหารเสริมจากทางโรงเรียน และนักเรียนกลุ่มพิเศษ นักเรียนผู้พิการ ผู้มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่ผู้ปกครองไม่สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด หรือ ต้องขาดรายได้จากการต้องมา
19
ดูแลกลุ่มเด็กดังกล่าว
13 บทความเรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2563 จากข่าวสภาพัฒน์
14 บทความเรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2563 จากข่าวสภาพัฒน์
15 อ้างอิงข้อมูลจาก https://dmh.go.th/covid19/news2/view.asp?id=17
16 อ้างอิงข้อมูลจาก https://tdri.or.th/2020/09/services-sectors-affected-by-the-covid-19/
17 บทความเรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2563 จากข่าวสภาพัฒน์
18 บทความเรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2563 จากข่าวสภาพัฒน์
19 บทความเรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2563 จากข่าวสภาพัฒน์
8