Page 24 - b28783_Fulltext
P. 24

2.2  นโยบายของรัฐในการช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม

                           นโยบายของรัฐในการช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมในระยะเร่งด่วน เพื่อเยียวยาและบรรเทาผล
                  กระทบให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดย่อม ระยะที่ 1 (ตามมติคณะรัฐ

                  มนตรี ณ วันที่ 10 มีนาคม 2563) และระยะที่ 2 (ตามมติคณะรัฐมนตรี ณ วันที่ 24 มีนาคม 2563) อาทิ

                  มาตรการด้านการเงินทั้งการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ า การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มาตรการด้านการคลังทั้งการ
                  เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนภาษี การเลื่อนการช าระภาษี รวมทั้งมาตรการเงินโอนเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่ผู้ได้รับ

                  ผลกระทบ มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายโดยการลดค่าไฟฟ้าและน้ าประปา และการลดอัตราเงินสมทบ

                  กองทุนประกันสังคมของผู้ประกอบการและลูกจ้าง เป็นต้น
                           ต่อมาคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ออกพระราชก าหนด 3 ฉบับ ประกอบด้วย

                  (1) พระราชก าหนดให้อ านาจ กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและ
                  สังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 วงเงินไม่เกิน 1 ล้าน

                  ล้านบาท (ประกาศ ณ วันที่ 18 เมษายน 2563) เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
                  ทั้งกลุ่มประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร และกลุ่มเปราะบาง การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม และการยกระดับ

                  ระบบสาธารณสุขเพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถรองรับสถานการณ์การระบาดที่ยังคงมีความไม่แน่นอน

                  สูงได้ (2) พระราชก าหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจาก
                  การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงินไม่เกิน 5 แสน ล้านบาท (ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน

                  2563) เพื่อให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจและเป็นแหล่งจ้างงานที่ส าคัญ โดยการให้

                  สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่อง รวมถึงการชะลอการช าระหนี้ และ (3) พระราชก าหนดการรักษา
                  เสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ.2563 วงเงินไม่เกิน 4 แสน

                  ล้านบาท (ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน 2563) เพื่อรักษาเสถียรภาพและสภาพคล่องของตลาดตราสารหนี้
                  ภาคเอกชนซึ่งถือเป็นช่องทางระดมทุนที่ส าคัญในการประกอบธุรกิจ การลงทุน และการออมของประชาชน

                  ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความผันผวนและบรรเทาความเสียหายที่อาจจะน าไปสู่ความเสี่ยงที่จะกระทบต่อ
                  เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและระบบการ เงินของประเทศ

                           แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ภายใต้กรอบวงเงิน 4 แสน

                  ล้านบาท ตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาท (รอบที่ 1) มีเป้าหมายส าคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) การสร้าง
                  ความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก โดยเน้นการจ้างงาน เกษตรทฤษฎี ใหม่ ท่องเที่ยวชุมชน กองทุนหมู่บ้าน

                  และโลจิสติกส์ 2) เน้นการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ด้วยการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจใหม่ ที่มี

                  ศักยภาพ (Nec, NeEC, CWEC, SEC) เพื่อรองรับการเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต เน้นเกษตรสมัยใหม่
                  เศรษฐกิจชีวภาพ ท่องเที่ยวคุณภาพ และ 3) เน้นกระตุ้นอุปสงค์ และการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อ

                  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคบริการ และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ
                                                                         20





                  20  แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 และโครงการภายใต้กรอบวงเงิน 4แสนล้านบาทตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาท (รอบที่ 1) โดย
                  คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
                                                                                                         9
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29