Page 20 - b28783_Fulltext
P. 20
จังหวัดน่าน ป่า และสายน้ า ท านา ข้าวโพด ไม้ผล
จังหวัดมหาสารคาม ริมน้ าชี หาปลา ท านา พืชไร่ อ้อย มันส าปะหลัง
จังหวัดอุบลราชธานี ริมน้ าโขง หาปลา ปลูกพืชผักริมโขง ท านา ยางพารา
จังหวัดฉะเชิงเทรา ป่ารอยต่อห้าจังหวัดภาคตะวันออก พืชไร่ ยางพารา ปาล์ม อ้อย ผัก ผลไม้
จังหวัดพังงา-ภูเก็ต ทรัพยากรทะเล ท านา ปลูกไม้ผล ท่องเที่ยว
จังหวัดสงขลา ทะเสสาบสงขลา ทะเลอ่าวไทย ท านา ไม้ผล ทรัพยากรทะเล
1.5 วิธีด าเนินการ
งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก โดยมีวิธีการศึกษาใน
แต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้
(1) ศึกษาหลักการประเมินความเสียหายและผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติและความต้องการ
(Disaster Damage and Needs Assessment) และแนวทางการประยุกต์ใช้แบบมีส่วนร่วมของผู้ที่ได้รับ
ความเสียหาย ไม่ใช่โดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และแนวทางการปรับตัวของชุมชน จะประยุกต์ใช้หลักการ
ปรับตัวรับภัยพิบัติจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัย
พิบัติแห่งเอเชีย (ADPC)
(2) ออกแบบวิธีวิจัยการประเมินความเสียหายและผลกระทบ และแนวทางการปรับตัวของชุมชน
โดยด าเนินการร่วมกับนักพัฒนาและผู้น าชุมชนในพื้นที่ทุกภาคภายใต้กิจกรรมของมูลนิธิชีววิถี หรือไบโอ
ไทย (BIOTHAI) ในปีงบประมาณ 2563 โดยใช้แบบส ารวจ 2 แบบ คือ
แบบสอบถามเชิงปริมาณโดยสอบถามรายครัวเรือนในชุมชน โดยจะเก็บข้อมูลให้ครอบคลุม
ทุกชุมชนให้ได้ไม่น้อยกว่า 1,002 ชุด
แบบชวนคุยเพื่อใช้สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และสังเกตการณ์กับผู้น า และกลุ่มชุมชน
(3) ปรับปรุงแนวค าถาม ออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล คัดเลือกพื้นที่ ประสานชุมชน ชี้แจง
เป้าหมาย กระบวนการ และผลที่จะได้จากการเก็บข้อมูล ร่วมกับนักพัฒนาและผู้น าชุมชนในพื้นที่ทุกภาค
และแต่ละพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในชุมชน
(4) มีการประมวลสรุปผลการศึกษาและน าเสนอความก้าวหน้าต่อสาธารณะทุกเดือน
(5) จัดเวทีให้แต่ละพื้นที่ประมวลผลจากข้อมูลที่ได้และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลพร้อม
กันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมทั้งวางแผนในการน าเสนอรายงานของแต่ละพื้นที่ โดยเน้นหนักให้
เขียนเป็นรายงานแบบกระชับ เน้นการสื่อสารเผยแพร่ได้ โดยผู้เขียนมีบทวิเคราะห์น าให้เห็นภาพบูรณาการ
(หากมีบทสัมภาษณ์ที่น่าสนใจด้วยจะดีมาก)
(6) ทีมวิจัยสังเคราะห์รวมข้อมูลของแต่ละพื้นที่เป็นรายงานประเมินความเสียหายผลกระทบ การ
ปรับตัว และข้อเสนอจากชุมชนท้องถิ่น และศึกษาเปรียบเทียบการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นจากภาวะโรค
ระบาดที่ผ่านมาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(7) ทีมวิจัยสังเคราะห์งานเชิงปริมาณและคุณภาพระดับชุมชน ร่วมกับงานศึกษาระดับครัวเรือน
ที่ด าเนินการโดย ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง
(8) จัดเสวนาผลการศึกษากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ
และเสนอผลการศึกษาสู่สาธารณะ
5