Page 31 - b28783_Fulltext
P. 31
การเชื่อมโยงที่การสื่อสาร และการขนส่ง ท้องถิ่นควรสร้างระบบขนส่งอาหารท้องถิ่นมากกว่าที่จะพึ่งพา
Grabหรือ Food Panda ในการส่งอาหาร และส าหรับเกษตรกรแล้ว การเปลี่ยนผ่านระบบการผลิตสู่
เกษตรกรรมยั่งยืนนั้น การมีเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นเป็นปัจจัยส าคัญของการพึ่งตนเองด้านอาหาร เพราะหาก
ชุมชนสามารถพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ และใช้พันธุ์พืชอาหารพื้นบ้านตามความเหมาะสมทางนิเวศ เศรษฐกิจ
และสังคม ชุมชนจึงจะมีความมั่นคงอาหารที่ยั่งยืนได้
โดยสรุปแล้ว จุดเปลี่ยนส าคัญของชุมชนจากภาวะวิกฤติคือการสร้างความมั่นคงอาหารของชุมชนและ
ขยายไปสู่ระบบจัดการอาหารที่กระจาย สื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่
เข้มแข็งในระดับท้องถิ่นและจังหวัด
ภาพที่ 2 การสัมภาษณ์ตัวแทนจากชุมชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม (ภาพ: ปิโยรส ปานยงค์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2563)
2.4.6 ชุมชนเมืองพิษณุโลก
ดินแดนสองแคว พิษณุโลก เกษตรกรชวนสวนท าเศรษฐกิจปลูกไม้ผลส่งออก เช่น มะม่วง
มะปราง ฯลฯ แต่ในช่วงโควิด ตลาดส่งออกถูกปิด ราคามะม่วงที่ขายได้จากเดิมกิโลกรัมละ 40-50 บาท
ตกลงเหลือ 10 บาท แม้บางส่วนจะพยายามปรับตัวสู่ตลาดออนไลน์ก็ติดปัญหาเรื่องการขนส่ง
แต่ที่เป็นปัญหานักหนาก็คือ แม้ตอนนี้เข้าถึงฤดูการท านาแล้ว แต่ยังชาวบ้านยังไม่มีเงินลงทุน
รายได้เดิมจากการขายผลผลิต ขายผลไม้ และรับจ้างหมดไปแล้ว ข้าวที่เก็บไว้ก็พอแค่บริโภค ไม่พอท า
เมล็ดพันธุ์ปลูก ส่วนลูกหลานที่ตกงานกลับบ้าน พวกเขาไม่ได้มีวิถีเกษตรแล้ว รอแต่เพียงเมื่อไหร่จะมีงาน
ในเมือง ความหวังที่ครอบครัวจะได้แรงงานมากขึ้นก็ยังไม่เป็นจริง
16