Page 27 - kpi23788
P. 27

Conflict Mapping Thailand phase 5
                                                                                                              17



                                                              บทที่ 3

                                            กรณีศึกษาเรื่อง Conflict Mapping กับ EEC



                             ในปัจจุบันการพัฒนาตามแผน  EEC  มีทั้งทั้งโครงการที่เริ่มด าเนินการแล้วและโครงการที่ก าลังจะเริ่ม
                  เนินการ ในที่นี้ จะน าเสนอผลกระทบจากการพัฒนาของ EEC ในโครงการที่ได้ด าเนินการแล้ว และก าลังไปสู่ปัญหา
                  ความขัดแย้งในปัจจุบัน (เดือนพฤษภาคม 2566) ได้แก่
                             1.  โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3

                             2.  โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนท่าเทียบเรือ F
                             3.  โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา อ าเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
                             4.  โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ

                             5.  โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

                             3.1 ภาพรวมของโครงการ
                             1. โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3

                             การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ด าเนินการศึกษาโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรม
                  มาบตาพุด ระยะที่ 3  เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของ
                  กนอ. ปี พ.ศ. 2557 – ถึงปี พ.ศ. 2559 ที่ก าหนดให้โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เป็น
                  โครงการที่ต้องด าเนินการและถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการส่งเสริมการขนส่งแบบ Green Logistic และ

                  เห็นชอบให้โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เป็นโครงการใน EEC Project List
                  โดยด าเนินการตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โครงการพัฒนา
                  ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โดยให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ถม
                  ทะเลหลังท่า เพื่อใช้งานประมาณ 550 ไร่ และพื้นที่บ่อเก็บกักตะกอนดินเลนระหว่างก่อสร้างประมาณ 450 ไร่

                  ความยาวหน้าท่ารวมกันประมาณ 2,200 เมตร ประกอบด้วย


                             1) งานส่วนพื้นที่ถมทะเลและสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure) ประกอบด้วยงานต่าง ๆ ดังนี้


                             (1) งานขุดลอกร่องน้ าเดินเรือ (Navigation Channel)


                             (2) แอ่งกลับเรือ (Maneuvering Basin)


                             (3) งานถมทะเล (Reclamation)


                             (4) งานก่อสร้างเขื่อนหินกันทราย (Revetment)


                             (5) งานก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น (Breakwater)



                                                                -17-
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32