Page 32 - kpi23788
P. 32
Conflict Mapping Thailand phase 5
22
4. โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 22 มี.ค. 2565 ได้อนุมัติให้ส านักงานคณะกรรมการนโยบาย
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
จ านวน 14,619 ไร่ ในท้องที่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เพื่อด าเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่
น่าอยู่อัจฉริยะ
การด าเนินการตาม พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มาตรา 36 ที่บัญญัติให้
คณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) โดยความเห็นชอบของ ครม. มีอ านาจให้ สกพอ. เข้าใช้
ประโยชน์ของ ส.ป.ก.เพื่อด าเนินการอื่นใดนอกเหนือจากที่ก าหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรมได้ โดยได้อนุมัติร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่องหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรมที่ส านักงานคระกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ พ.ศ.... เพื่อให้ สกพอ.
และส.ป.ก. ด าเนินจ่ายค่าชดเชยให้แก่เกษตรกรผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของ ส.ป.ก. ทั้งนี้ได้บรรจุแผนจัดสรร
งบประมาณแผ่นดินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จ านวน 15,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2567 จ านวน 4,000
ล้านบาท รวม 19,000 ล้านบาท จะแยกเป็น ค่าชดเชยที่ดิน 10,000 ล้านบาท โครงการจ้างที่ปรึกษาออกแบบขั้น
รายละเอียดและจัดท ารายละเอียดการให้เอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) 1,000 ล้านบาท โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อ
สนับสนุนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) 200 ล้านบาท และโครงการปรับพื้นที่และก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
ส่วนกลาง 7,800 ล้านบาท
โครงการศูนย์ธุรกิจ EECและเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เป็นการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจและการเงิน
ระดับภูมิภาคมาตรฐานเทียบเท่าสากลในพื้นที่อีอีซี และให้เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 เมืองของโลกในปี
2580 เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะต้นแบบส าหรับการพัฒนาเมืองใหม่ทั่วประเทศไทย โครงการตั้งอยู่ที่ อ.บางละมุง
จ.ชลบุรี พื้นที่โครงการ 14,619 ไร่ โดยจะพัฒนาระยะแรกประมาณ 5,000 ไร่ โครงการมีที่ตั้งห่างจากท่าอากาศ
ยานอู่ตะเภา 15 กม. และห่างจากกรุงเทพฯ 160 กม. มีระยะการพัฒนา 10 ปี ระหว่างปี 2565-2575
โดย สกพอ.ประเมินว่าโครงการนี้จะสร้างงาน 200,000 ต าแหน่ง ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,340,468
ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนการลงทุนของรัฐ 2.8% หรือ 37,674 ล้านบาท เป็นส่วนของค่าที่ดิน ปรับพื้นที่เมือง
โครงสร้างพื้นฐานในเมือง นอกเมือง ส่วนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) 9.7% หรือประมาณ 131,119
ล้านบาท เป็นค่าสาธารณูปโภคในระบบขนส่งธารณะ ระบบดิจิทัล และเอกชนลงทุน 87.5% หรือประมาณ
1,180,808 ล้านบาท ส าหรับพื้นที่พาณิชย์
ตามแผนแม่บทพัฒนาโครงการ จะแบ่งโซนตามธุรกิจเป้าหมายเป็น 5 โซน ประกอบด้วย
1) ศูนย์กลางการเงิน ประกอบด้วยธุรกิจการเงินและตลาดทุน สนับสนุนการลงทุน Fintech และ
Green Bond
2) ส านักงานภูมิภาค RHQ/ศูนย์ราชการ เช่น ส านักงานภูมิภาคของธุรกิจไทย ที่มีธุรกิจในอีอีซีและ
สถานที่ราชการที่ส าคัญ
3) การแพทย์แม่นย า/การแพทย์เพื่อนาคต เพื่อเป็นที่ตั้งของธุรกิจที่เป็นการร่วมทุนกับโรงพยาบาล
ชั้นน าของโลก ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย
-22-