Page 35 - kpi23788
P. 35

Conflict Mapping Thailand phase 5
                                                                                                              25



                  ศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และน าความเจริญเติบโตด้านต่างๆ เข้าสู่พื้นที่ EEC สร้าง New S-
                  Curve ใหกับเศรษฐกิจของไทย 2553-2556 โดยก่อนนี้ได้มีการด าเนินโครงการรถไฟเชื่อมกรุงเทพภาคตะวันออก

                  มาก่อนหน้านี้แล้ว ได้แก่ การเปิดใช้บริการรถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (ARL) ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ (2553-ปัจจุบัน)
                  และศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ- ระยอง (2556) รัฐบาลจึงได้ปรับปรุงโครงการ
                  ขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน
                                โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดิน
                  รถเดิมของระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (Airport Rail Link) (สกพอ., ม.ป.ป.ข). ที่เปิดให้บริการอยู่

                  ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสถานีพญาไท
                  ไปยังสนามบินดอนเมือง  และจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา  พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบินโดยใช้เขต
                  ทางเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง  220 กิโลเมตร มีผู้เดินรถรายเดียวกัน

                  ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ส าหรับช่วงการเดินรถระหว่างเมือง คือ สถานีสุวรรณ
                  ภูมิ ถึง สถานีอู่ตะเภา) และความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ส าหรับช่วงการเดินทางในเมือง คือ สถานีดอน
                  เมือง ถึง สถานีสุวรรณภูมิ)


                                แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่  5  จังหวัด  ได้แก่  กรุงเทพฯ  สมุทรปราการ  ชลบุรี  ระยอง  และ
                  ฉะเชิงเทรา มีจ านวนสถานีให้บริการทั้งหมด 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานี
                  สุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา


                                แนวเส้นทางโครงการประกอบด้วย 3 โครงการ คือ
                                    โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศ

                  ยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport and City Air Terminal: ARL)
                                    โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-
                  พญาไท (ARL Extension)
                                    โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง

                                โครงสร้างทางวิ่งของโครงการ ประกอบด้วย
                                ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบัน (ARL) (สกพอ., ม.ป.ป.ค)  ระยะทางประมาณ
                  29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร โดยเบื้องต้นจ าแนกลักษณะรูปแบบโครงสร้าง
                  ทางวิ่งทั้งโครงการเป็น 3 ประเภท ได้แก่


                                    ทางวิ่งยกระดับ ระยะทางประมาณ 211 กิโลเมตร
                                    ทางวิ่งระดับดิน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร

                                    ทางวิ่งใต้ดิน ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร










                                                                -25-
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40