Page 23 - kpi23788
P. 23
Conflict Mapping Thailand phase 5
13
5.2 เหตุการณ์ความขัดแย้ง
1) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือ ภาคีความขัดแย้งใดบรรลุวัตถุประสงค์ของตัวเอง เช่น อาจมีการใช้
ก าลังเพื่อชนะในมุมมองการเมืองที่แท้จริง หรือใช้ปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรง อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การท าลายด้วย
การแข่งขันในมุมการเมืองที่แท้จริง หรือชิงไหวชิงพริบด้วยการแข่งขัน การหลีกหนีในการเมืองที่แท้จริง และชักชวน
ให้เข้ามาสู่การแข่งขัน การประณีประนอม และการน าไปสู่ความร่วมมือ
2) การเปลี่ยนแปลงปัญหา เกิดขึ้นเมื่อภาคีตอบสนองต่อความขัดแย้ง ในสถานการณ์นั้น ๆ
เป็นรูปแบบของการกระท าและปฏิกิริยาในขณะที่ความขัดแย้งยังเป็นพลวัตร
3) การสร้างแรงกระเพื่อมความขัดแย้ง (Polarization) คือ ความพยายามเปลี่ยนแปล
สถานภาพความขัดแย้งและน าไปสู่การท านายผลของกระท านั้นจากคู่ความขัดแย้ง 1 หรือ 2 ภาคี การเปลี่ยนแปลง
อาจเกิดขึ้นในรูปแบบการสร้างความเสียหายทั้งรูปธรรม (ทรัพย์สิน) หรือนามธรรม (จิตใจ)
5.3 กระบวนการกระท าและปฏิกิริยา ประเด็นความขัดแย้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างกระบวนการ
เกิดความขัดแย้ง ระหว่างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคีต่าง ๆ อาจสร้างความขัดแย้งใหม่อาจเกิดขึ้นแบบเดียวหรือมี
หลายแบบ เพราะความขัดแย้งท าให้มีการเปลี่ยนรูปแบบ ไปสู่การต่อรอง หรือการประเมินใหม่ และอาจสร้างแรง
กระเพื่อมของความขัดแย้งแบบใหม่ ให้เกิดขึ้นระหว่างคู่ความขัดแย้งหลัก และคู่ความขัดแย้งรอง ใน 3 รูปแบบ
ผู้เกรียวกราด-ผู้ปกป้อง เกลียวความขัดแย้ง และการบรรลุค าท านายด้วยตนเอง
1) ผู้เกรียวกราด-ผู้ปกป้อง ถือว่าเป็นประเด็นส าคัญของความขัดแย้ง และเป็นผลของการ
กระท าจากทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะต้องการปกป้องตนเองเท่านั้น แต่ยังมีการโต้ตอบกลับด้วยปฏิกิริยาที่รุนแรง
2) เกลียวความขัดแย้ง เกิดขึ้นผ่านการกระท าและปฏิกิริยา ผ่านภาพเหมารวม จนเสมือนหนึ่ง
ว่าความรุนแรงเกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมจากกันและกัน ตัวอย่างเช่น คู่ความขัดแย้งอาจจะมองตัวเองว่าเป็น
คนดี มีคุณธรรม ในขณะที่มองศัตรูเป็นพวกไร้ศีลธรรมและหลอกลวง
3) การบรรลุผลสัมฤทธิ์ด้วยตัวเอง อาจเป็นผลผลิตจากกระบวนการกระท าและปฏิกิริยา
ผู้เกรียวกราด-ผู้ปกป้อง และเกลียวความขัดแย้ง การผสมผสานจากความอึดอัดคับข้องใจน าไปสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์
ด้วยตัวเอง ดังนั้นผู้เจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งจะต้องตระหนักให้มั่นถึงการเกิดขึ้นของกระบวนการเหล่านี้
6. การแทรกแซงความขัดแย้ง จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นผู้เจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งจะต้อง
ทราบก่อนลงมือปฏิบัติการ
6.1 การวิเคราะห์ความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งแรกที่ผู้ศึกษาควรตระหนักโดยดูจากองค์ประกอบ ทั้ง 5 แบบ
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว การสร้างแผนที่ความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งแรกที่ควรต้องปฏิบัติ โดยใช้ข้อมูลจากภาคีคู่ความขัดแย้ง
ทั้งหมด และบริบทที่ปรากฎอยู่บนคู่ความขัดแย้ง
6.2 การตัดสินใจเพื่อเตรียมการ
1) ความต่อเนื่อง เพื่อเข้าใจถึงพลวัตรของความขัดแย้ง จาก 3 โมเดล คือ 1) ประวัติศาสตร์ที่
เกิดขึ้นกับคู่ขัดแย้ง 2) การวิเคราะห์ระดับของความขัดแย้ง และ 3) ระดับความขัดแย้งของ Dugan
2) ระดับ ของความขัดแย้งจะต้องอยู่ในฐานการวิเคราะห์
3) Dugan’s Levels
4) การติดตาม ต้องเลือกวิธีในการติดตามเพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง
-13-