Page 20 - kpi23788
P. 20

Conflict Mapping Thailand phase 5
                                                                                                              10



                  รับรู้และความเข้าใจในแต่ละช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ เวลาของวัฒนธรรมเป็นได้ทั้งอดีตและอนาคต ตั้งอย่างเช่น
                  ภาคี 2 เครือข่าย มีความขัดแย้งคนละเวลา อาจส่งผลกระทบต่อการให้ความหมายและความเข้าใจเกี่ยวกับ

                  การปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน เช่น ภาคีหนึ่งเน้นอดีต ในขณะที่อีกภาคีเน้นอนาคต อาจน าไปสู่ความตีงเครียดและ
                  ความโกรธได้
                             2.4) ตัวก าหนดพฤติกรรม
                                1) การลิดรอนความสัมพันธ์
                                2) ทางเลือกที่มีเหตุผล

                                3) ความไม่พอใจ - ความก้าวร้าว

                             ทฤษฎีการลิดรอนเชิงเปรียบเทียบ (Relative Deprivation Theory) สามารถน ามาใช้ในการอธิบาย

                  บริบทของความขัดแย้ง ทฤษฎีนี้มีฐานวิเคราะห์ที่ปัจเจกบุคคลและการค้นหาว่า ท าไมปัจเจกบุคคลถึงสนใจเข้าร่วม
                  ปฏิบัติ หรือลุกขึ้นสู้ ประภาส ปิ่นตบแต่ง (2013) ยกตัวอย่างงานของ Ted Robert Gurr เรื่อง “Why Men Rebel”
                  (1970) มีสมมติฐานการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลว่า การลิดรอนเชิงเปรียบเทียบเป็นที่มาของความไม่พึง
                  พอใจ ความข้องใจ การคุกคาม และน าไปสู่การแสดงออกอย่างก้าวร้าวรุนแรง ปัจเจกบุคลที่ถูกลิดรอนน าไปสู่

                  การกระท ารวมหมู่ที่มีลักษณะรุนแรงทางการเมือง เช่น การจลาจล และการปฏิบัติ แต่งานของ Gurr ถูกวิเคราะห์ว่า
                  อธิบายความรุนแรงทางการเมืองแบบต่อต้าน ล้มล้างรัฐบาล แต่ไม่ได้อธิบายบทบาทของฝ่ายรัฐที่สร้างความรุนแรง
                  เช่นกัน
                               การท านายพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและบางครั้งน าไปสู่ความรุนแรงสามารถใช้ทฤษฎี

                  การลิดรอนเชิงเปรียบเทียบได้

                             3. ภาคีที่ขัดแย้ง
                             การวิเคราะห์และระบุให้ได้ว่า ใครบ้างที่เป็นคู่ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่จ าเป็นและส าคัญ ไม่ว่าจะเป็น

                  การระบุตัวเองว่าเป็นตัวแทนของความขัดแย้ง หรือ เฉพาะบางคน หรือ ตัวแทนของกลุ่ม โดยภาคีที่ขัดแย้งกัน
                  แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส าคัญ คือ
                             1) ภาคี ประกอบไปด้วย 4 ส่วนย่อย คือ

                             1.1) ภาคีชั้นต้น หมายถึง คน/เฉพาะคน/กลุ่มคน ที่มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับความขัดแย้ง
                             1.2) ภาคีชั้นที่สอง หมายถึง คน/เฉพาะคน/กลุ่มคน ที่มีปฏิสัมพันธ์ทางอ้อมเมื่อเกิดความขัดแย้งและ
                  อาจพัฒนาเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงถ้าความขัดแย้งยังด าเนินต่อไปเรื่อย ๆ

                             1.3) ภาคีที่มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง คน/เฉพาะคน/กลุ่มคน ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย/
                  ผลประโยชน์กับความขัดแย้ง หรือมีความสนใจในความขัดแย้ง และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการแก้ไข
                             1.4) ภาคีแทรกแซงอื่น ๆ หมายถึง คน/เฉพาะคน/กลุ่มคน ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งโดยตรง
                  แต่อาจพิจารณาได้ว่าจะได้รับผลกระทบ และอาจเข้าร่วมกับภาคีความขัดแย้งอื่น ๆได้ในภายหลัง

                             2) ความสัมพันธ์ จะถูกน ามาใช้ในการอธิบายเมื่อสามารถระบุภาคีประเภทต่าง ๆ ได้แล้ว เนื่องจากจะ
                  ช่วยระบุต้นเหตุ ธรรมชาติ พลวัตรของความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์อาจะเป็นความสมมาตรหรืออสมมาตรขึ้นอยู่กับ
                  ทรัพยากรหรือพลังงานซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการปฏิสัมพันธ์


                                                                -10-
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25